UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
หนึ่งในผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์จากสิ่งมีชีวิตที่พบมากในธรรมชาติ คือ เซลลูโลส (cellulose) ซึ่งได้รับความสนใจอย่างยิ่งในการพัฒนาวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น วัสดุยั่งยืนที่สามารถผลิตทดแทนได้ง่าย รวมทั้งมีความเข้ากันได้ดีกับสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปต้นไม้และพืช คือ แหล่งผลิตสำคัญของเซลลูโลส แต่ในปัจจุบันนี้เซลลูโลสที่มาจากแบคทีเรีย (Bacterial Cellulose: BC) ได้มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากความบริสุทธิ์ของเซลลูโลสที่ผลิตได้ที่สูงกว่าไม่มีสารเจือปนอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมีขั้นตอนกำจัดเพิ่มเติม ลักษณะของเซลลูโลสที่มาจากแบคทีเรียเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (ribbon-like 3D network) ที่ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ (microfibril) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 นาโนมิเตอร์ มีโครงสร้างที่แข็งแรงมีรูพรุนสูงมีความสามารถอุ้มน้ำได้สูง และมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตต่ำ จึงได้รับ ความนิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และยาที่หลากหลาย รวมทั้งใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตนาโนคริสตัล จากเซลลูโลส ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นรายได้หลักของประเทศ มีซากพืชเหลือใช้ทั้งจากเกษตรกรรมและการผลิตอาหารมากมายมหาศาล ซึ่งซากพืชเหล่านี้ เป็นแหล่งสำคัญของเซลลูโลสทั้งสิ้น แต่เราจะสกัดเซลลูโลสจากซากพืชเหล่านั้นได้อย่างไร จึงต้องอาศัยความรู้จากงานวิจัยช่วยพัฒนาเปลี่ยนซากของเสียจากการเกษตรให้กลายเป็นวัสดุขั้นสูง เป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.6
First Page
32
Last Page
37
Recommended Citation
สิงห์สา, ปรัชญาวดี and มนัสปิยะ, หทัยกานต์
(2018)
"กระบวนการผลิตนาโนคริสตัลจากแบคทีเรียเซลลูโลสเพื่อการสังเคราะห์ตัวนำส่งยารักษาโรคมะเร็ง,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss3/7