UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
ปัจจุบันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชืถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้ผลผลิติที่ได้มีโอกาสปนเปื้อนสารเคมีเหล่านี้ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค การตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยเทคนิคที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการคัดกรอง จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับจากสารเคมีดังกล่าว ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้พัฒนาตัวรับรู้ชีวภาพ (biosensor) ในรูปแบบใหม่สำหรับตรวจวัดยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต(Organophosphate Pesticides: OPs) อย่างจำเพาะมุ่งเน้นการศึกษากราฟีนควอนตัมดอท (GrapheneQuantum Dots: GQDs) ซึ่งเป็นวัสดุในระดับนาโนที่ให้สัญญาณแสงฟลูออเรสเซนต์สูง เตรียมง่าย ราคาถูกอีกทั้งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเอากลไกการยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ชนิดอะซิติลโคลีนเอสเทอเรส(Acetylcholinesterase: AChE) ซึ่งมีมากในระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ โดยอาศัยบทบาทการทำงานของเอนไซม์ 2 ชนิด คือ อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสและโคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase: CHOx) ซึ่งจะผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ณ สภาวะปกติ ในขณะเดียวกันการผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ลดลงเมื่อ มีออร์แกโนฟอสเฟตในระบบ จะส่งผลต่อสัญญาณแสงฟลูออเรสเซนต์ของกราฟีนควอนตัมดอท นำไปสู่การตรวจวัดหาปริมาณของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความรู้และข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะมีส่วนสำคัญในการตรวจวัดหาปริมาณยาฆ่าแมลงในอาหาร แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้ในอนาคต
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.5
First Page
25
Last Page
31
Recommended Citation
ธรรมพัฒนกิจ, บุษยรัตน์; สาหับ, ชลธิชา; หนูจักร, ธรรมนูญ; and ตันฑุลานิ, ธวัชชัย
(2018)
"ตัวรับรู้ชีวภาพบนพื้นฐานปฏิกิริยาของเอนไซม์สำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss3/6