UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
มลพิษสิ่งแวดล้อมทางน้ำและอากาศ อันเนื่องมาจากกิจกรรมประจำวันของมนุษย์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับว่ามีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนักวิจัยได้พยายามทำการศึกษาพัฒนากระบวนการและวัสดุเพื่อช่วยในการบำบัดมลพิษ เหล่านั้นซึ่งหนึ่งในกระบวนการที่มีการศึกษากันแพร่หลายปัจจุบัน ได้แก่ กระบวนการโฟโตคะตะไลซิส (photocatalysis)เนื่องจากเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เป็นพิษทั้งในน้ำและอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานและสารเคมี และไม่ก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีสะอาด โดยหัวใจสำคัญของกระบวนการนี้ คือ วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง(photocatalyst) ซึ่งปัจจุบัน การพัฒนาวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงให้มีศักยภาพในการตอบสนองต่อแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็น (Viable-light region) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานธรรมชาติที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นงานวิจัยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.3
First Page
14
Last Page
19
Recommended Citation
สุจริตวรกุล, พรนภา
(2018)
"การพัฒนาวัสดุโฟโตคะตะลิสต์ประสิทธิภาพสูงที่ตอบสนองต่อแสงช่วงที่ตามองเห็น,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss3/4