•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2018-01-01

Abstract

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับต้น ๆ ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมในผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการทำงาน กระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมและคุณภาพชีวิต (สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค, 2560)การฟื้นฟูสมรรถภาพของแขนและขาข้างอ่อนแรงเพื่อช่วยให้เกิดการฟื้นตัวดีและฟื้นตัวเร็วขึ้นมีหลากหลายวิธีการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟู เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในปัจจุบันการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูช่วยให้ผู้ป่วยที่ยังมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการน้อย สามารถฝึกการใช้งานแขน/ขาซ้ำ ๆ(repetition) ได้เป็นจำนวนครั้งที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการฝึกแบบดั้งเดิมทำให้เกิดทักษะการใช้งานแปรผันตามจำนวนครั้งที่ฝึกร่วมกับมีระบบเกมและการให้ข้อมูลตอบกลับ (feedback)ทำให้การฝึกน่าสนใจ สนุก และท้าทาย ลักษณะดังกล่าวช่วยให้การฟื้นฟู มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีป้อนกลับสัญญาณชีวภาพ (Biofeedback technology) โดยการอ่านสัญญาณบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogramหรือ EEG) ที่ใช้เสริมระบบการใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพรวมทั้งใช้เพื่อควบคุมแขน/ขาหุ่นยนต์ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลในการฟื้นฟู ที่ดีและแตกต่างภายใต้สมมติฐานของการเพิ่มการเปลี่ยนแปลงการทำ งานและการสร้างเครือข่ายของเซลสมอง(brain plasticity) เมื่อผู้ป่วยมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการมากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ที่มีระบบตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ ทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงแรงตอบรับ รวมทั้งตำแหน่งและความเร็วในการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ นำมาสู่การติดตั้งระบบติดตามพัฒนาการของผู้ใช้เฉพาะบุคคล (patient progressionsupervising system) ซึ่งจะบันทึกและติดตามพัฒนาการของผู้ใช้แต่ละบุคคล และปรับเปลี่ยนลักษณะการเคลื่อนไหวรวมทั้งแรงที่หุ่นยนต์สร้างขึ้นตามกำลังกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไปการฝึกด้วยเกมร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพที่แพร่หลายในปัจจุบันระบบเกมคอมพิวเตอร์ประกอบการฟื้นฟู สามารถนำเสนอเกมเพื่อกระตุ้นและจูงใจผู้ป่วยให้รับบริการในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพิ่มความเครียดพร้อมกับเป็นการลดความเบื่อหน่ายจากการฝึกนั้นจึงจำเป็นต้องหากิจกรรมทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าได้ทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ดั้งนั้นการนำเกมเข้ามาช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งระบบเกมที่ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเบื่อหน่ายและสร้างแรงจูงใจใหผู้ป่วยอยากฝึกทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการรักษาและเกิดความต้องการในการใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้งานระบบได้นานขึ้น ช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้นในปัจจุบันการพัฒนาแขนหุ่นยนต์แบบโครงร่าง หรือ หุ่นยนต์แบบสวมใส่ (exoskeleton) ที่ครอบคลุมการฝึกข้อไหล่ ข้อศอกแขนท่อนล่างและข้อมือ และหุ่นยนต์แบบขารวมทั้งแขนหุ่นยนต์แบบจับที่ปลาย (end effector) ยังมีการศึกษาไม่มากนัก ดั้งนั้นการพัฒนาหุ่นยนต์ในลักษณะดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการแพทย์ของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ และทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการฟื้นฟู สมรรถภาพด้วยหุ่นยนต์ดังกล่าวมากขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.3.1

First Page

3

Last Page

7

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.