UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
ในปี พ.ศ. 2568 จะปีการเปิดเสรีให้กับผลิตภัณฑ์นมเป็นสินค้าปลอดภาษีทั้งการนำเข้า-ส่งออกโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประเทศไทย สำหรับผลกระทบทางบวก คือ ประเทศไทยมีโอกาสในการส่งออก ผลิตภัณฑ์น้ำนมไปยังตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของ ประเทศไทยอาจไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ส่งผลให้เกษตรกรอาจต้องเลิกกิจการและเลิกอาชีพการเลี้ยงโคนม อันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการผลิตในระดับฟาร์มโคนมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ ปัญหาการขาดแคลน แรงงานที่รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ทยอยกลับประเทศ การขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะสืบสานอาชีพของครอบครัว ประกอบกับ การที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) การประกอบอาชีพโดยใช้แรงงานเป็นหลักเช่นเดียวกับในอดีต ไม่อาจจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านพื้นที่ตั้ง ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีมูลค่า มากกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น รวมทั้ง การส่งออกไปยังตลาดขนาดใหญ่ เช่น ประเทศจีน และตลาดที่มีศักยภาพที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นมจากประเทศไทย เช่น สิงคโปร์ บรูไน มาเลเชีย และฮ่องกง เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะคุกคามต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมโคนม และอาชีพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย รวมทั้ง การใช้โอกาสการเปิดการค้าเสรีผลิตภัณฑ์นมเพื่อเป็นประโยชน์ในการขยายตลาดการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงและ การจัดการฟาร์มโคนม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพการผลิต ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ก่อนที่จะสูญเสียโอกาสเหล่านี้ไป
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.5
First Page
25
Last Page
31
Recommended Citation
อินทร์ชัยศรี, ชัยเดช and ประสมศรี, ปิยะณัฐ
(2018)
"การจัดการฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีแบบประณีต,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss2/6