UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
จากนโยบายของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานวัฒนธรรมตามแนวทางของแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์และวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative and Cultural Economy) โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศ มาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จึงมุ่งไป ที่การเชื่อมโยงระหว่างทุน 6 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนกายกาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม โดยทุนวัฒนธรรมเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมโยงกับทุนประเภทอื่น ๆ เพราะทุนวัฒนธรรมเปรียบเสมือนกิจกรรมต้นน้ำ ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยจะก้าวย่างเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สิ่งหนึ่ง ที่ได้กำหนดไว้เป็นเสาหลักที่ 2 ในเรื่องประชาคมสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือเฉพาะด้านเพื่อผลักดันให้ประขาชนมีสภาพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ที่กำหนดให้ มีการสนับสนุนทางด้านวัฒนธรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ เกื้อกูลกัน นำความรู้ และสร้างจุดแข็งของ อัตลักษณ์ไทยบนฐานนวัตกรรมที่เข้มแข็งเพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาค (สิรางค์ กลั่นคำสอน, 2555)
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.4
First Page
18
Last Page
24
Recommended Citation
อุทิศวรรณกุล, พัดชา
(2018)
"ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น ธุรกิจศิลป์สากล,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss2/5