UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
บ้านโป่งลก (หมู่ที่ 2) และบ้านบางกลอย (หมู่ที่ 1) อยู่ในตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านติดอยู่กับแม่นํ้าเพชรบุรีตอนต้น พื้นที่มีความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลางประมาณ 150 เมตร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช, 2560) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในทั้งสองหมู่บ้านเป็นชาวปกาเกอะญอที่ย้ายลงมาจากบางกลอยบน (หรือกเรียกว่า ใจแผ่นดิน) มีชวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความเชื่อในเรื่องผีสาง นางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่า เจ้าเขา และนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ แม่น้ำเพชรบุรี เปรียบเสมือนสายธารแห่งชีวิตของคนในพื้นที่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย ปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่ง ของชุมชนบ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย คือ การผันน้ำจากแม่นํ้าเพชรบุรีขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรม เนื่องจากพื่นที่พักอาศัยและพื้นที่ทำกินของชุมชนที่ได้รับสิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อการทำกินนั้น (พื่นที่ CN) เป็นพื้นที่ ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าแม่นํ้าเพชรบุรีมาก นอกจากนั้น การที่ไฟฟ้าและน้ำประปายังเข้าไม่ถึง ทำให้การทำเกษตรกรรม สามารถทำได้เฉพาะในฤดูฝน เท่านั้น ส่งผลใหัรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำ แต่ละครัวเรือนจึงมีฐานะยากจน จึงมีการเข้าไปทำงานรับจ้างใช้แรงงานในเมืองแทนการทำเกษตรกรรมกันเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมี อีกร้อยกว่าหลังคาเรือนที่ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านและส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีความจำเป็นต้อง ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม โดยวิธีการผันน้ำ/ดึงน้ำขึ้นไปใช้ โดยการใช้เครื่องปั๊มนํ้าแบบเครื่องยนต์ที่ต้อง ใช้น้ำมันเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน ซึ่งมีทั้งที่เป็นของส่วนรวมและมีเพียงไม่กี่เครื่องที่เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบัน การสูบนํ้าเพื่อใช้ในระบบประปาหมู่บ้านมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar cell) เป็นหลัก ชึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อสูบนํ้าจะขึ้นอยู่กับแสงแดดที่มีในแต่ละวัน หากวันใดเเสงแดดน้อยหรือไม่มีแสงแดดจะไม่สามารถสูบน้ำได้ นอกจากนั้น ปั๊มเครื่องสูบนํ้าชนิดจุ่มหรือปั๊มซับเมอร์ส (submersible pump) ยังพบว่าเกิดปัญหาบ่อย ๆ ระบบการทำงานในช่วงแรกที่ยังไม่เสถียรนัก ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาได้ในปริมาณที่มากพอกับความต้องการใช้น้ำได้ จึงเกิดผลกระทบกับเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกหลังทำนา ซึ่งไม่สามารกทำการเกษตรได้ตลอดปี อีกทั้ง เชลล์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและยากต่อการช่อมบำรุง ด้วยตนเอง ดังนั้น การใช้กังหันพลังน้ำ จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรในพื้นที่
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.3
First Page
13
Last Page
17
Recommended Citation
บุญเพ็ง, สุพรรณี
(2018)
"การออกแบบพัฒนากังหันพลังน้ำเพื่อเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมู่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss2/4