•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2018-01-01

Abstract

ในปัจจุบัน Smart City หรือเมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งกระแสที่กำลังพัฒนากันทั่วโลก ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่ มีความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของประชากรเมืองในยุคการสื่อสารไร้สายเช่นนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมืองอัจริยะด้วยสังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 อันเป็นผลจากการที่อัตราการเกิดของคนไทยลดลงรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของหลายคนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ จากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนประจำปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าแนวโน้มของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.40 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 79.30 ในปี 2558 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปี ละประมาณร้อยละ 3.23 นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากรุงเทพมหานครมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.30 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2558)คงปฏเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นอกจากจะมีไว้ในการติดต่อ สื่อสารกับบุตร หลาน ครอบครัวเพื่อนได้ง่ายแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการเชื่อมโยงด้านการติดต่อสื่อสาร ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น ภาวะการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า อาการปวดหัว และการทำงานของสมอง เป็นต้น (Seitz et al., 2005) นอกจากนี้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้สูงอายุเพศชายที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีภาวะซึมเศร้าในระดับต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลต่อการส่งเสริมภาวะด้านจิตใจ ด้านการเข้าสังคมของผู้สูงอายุเพศหญิงอีกด้วย (Minagawa and Saito, 2014)จากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจทั้งทางบวกและลบของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โทรศัพ ท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิต และคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองได้ต่อไป

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.6

First Page

33

Last Page

37

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.