UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
ในปัจจุบัน Smart City หรือเมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งกระแสที่กำลังพัฒนากันทั่วโลก ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่ มีความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของประชากรเมืองในยุคการสื่อสารไร้สายเช่นนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเมืองอัจริยะด้วยสังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 อันเป็นผลจากการที่อัตราการเกิดของคนไทยลดลงรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของหลายคนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ จากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนประจำปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าแนวโน้มของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.40 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 79.30 ในปี 2558 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปี ละประมาณร้อยละ 3.23 นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากรุงเทพมหานครมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.30 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2558)คงปฏเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นอกจากจะมีไว้ในการติดต่อ สื่อสารกับบุตร หลาน ครอบครัวเพื่อนได้ง่ายแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการเชื่อมโยงด้านการติดต่อสื่อสาร ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น ภาวะการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า อาการปวดหัว และการทำงานของสมอง เป็นต้น (Seitz et al., 2005) นอกจากนี้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้สูงอายุเพศชายที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีภาวะซึมเศร้าในระดับต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลต่อการส่งเสริมภาวะด้านจิตใจ ด้านการเข้าสังคมของผู้สูงอายุเพศหญิงอีกด้วย (Minagawa and Saito, 2014)จากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจทั้งทางบวกและลบของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โทรศัพ ท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิต และคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองได้ต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.6
First Page
33
Last Page
37
Recommended Citation
ฐานีพานิชสกุล, ณัฏฐา; ลรรพรัตน์, สัตตมาส; คำมูลคร, รัตนี; and อึ้งเจริญ, รัชฎาภรณ์
(2018)
"ผลของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในเขตเมือง,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss1/7