•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2018-01-01

Abstract

ในปัจจุบันหลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างกล่าวถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) ที่เป็นแนวคิด ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศในการช่วยบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ แต่ทว่า แนวทางการพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะนั้น เป็นไปได้หลายแนวทาง ซึ่งแต่ละแนวทางอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ดังนั้นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่จะถูกนำมาใช้นั้นควรต้องผ่านการทดสอบและปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่เมืองนั้น ๆ กล่าวคือ จำเป็นต้องมีการนำร่อง ดำเนินการในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้เทคโนโลยีอัจฉริยะได้ตอบสนองหรือแก้ไขประเด็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ดังนั้น ในการลงทุนพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณทั้งหมดไปกับการลงทุนในเทคโนโลยี อัจฉริยะหรือ การติดตั้งระบบตรวจสอบและกล้องวีดิโอไว้ทุกหัวมุมถนนให้ทั่วทั้งเมืองในทันที แต่อาจเริ่มจากพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในเมืองก่อน

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.2

First Page

9

Last Page

13

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.