UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2018-01-01
Abstract
แนวนโยบายการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศที่มุ่งเน้นการคมนาคมขนส่งทางราง ทั้งที่เป็นรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชน รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง นอกจากจะส่งผลต่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการใช้พลังงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งทางราง ย่อมจะส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานี ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit Oriented Development: TOD) ระหว่างการคมนาคมขนส่งทางรางกับการคมนาคมขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ทั้งการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ทั้งภายในเมืองและระหว่างเมืองกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศและระหว่างประเทศ การพัฒนาบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจจากการคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้พลัง งานที่เพิ่มมากขึ้นทั้งการคมนาคมขนส่ง และการใช้พลังงานในอาคารรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) จะนำมาซึ่งความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีซึ่งเป็น จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรเพื่อผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.1
First Page
3
Last Page
8
Recommended Citation
ตาปนานนท์, นพนันท์
(2018)
"การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 5:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol5/iss1/2