•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2017-01-01

Abstract

การผลิตในภาคเกษตรกรรม เป็นภาคส่วนที่มีความอ่อนไหว(vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมากอีกทั้งยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือลดลง สภาวะความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและความถี่ของฝนส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรมการเพาะปลูก ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการผลิตอาหารของประเทศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีวิถีการเพาะปลกูที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติถ่านชีวภาพ (Biochar) เป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุปรับปรุงดิน (soil amendment) ที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้ดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น (Sriburi and Wijitkosum, 2016;Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015;Masulili et al., 2010; Lehmann, 2009; Lehmann and Rondon,2006; Yamato et al., 2006) มีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืช (Wijitkosum and Kallayasiri, 2015;Thies and Rillig, 2009; Chan et al., 2007) และเป็นวัสดุที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตพืชทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของผลผลิต(Sriburi and Wijitkosum, 2016; Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Zhang et al., 2012; Lehmann et al., 2011) ถ่านชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เหง้ามันสำปะหลังทลายปาล์ม ฟางข้าว เป็นต้น (ทวีวงศ์ ศรีบุรี และเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, 2558; Zhan et al., 2015; Liu et al. 2014)และเศษไม้เหลือใช้หรือเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งและต้นไม้ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง ไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน (Sriburi and Wijitkosum, 2016; Sun et al., 2014) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจ (cash-crop) ในกลุ่มพืชไร่ที่มีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งพบมีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเลย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2555) และมีแนวโน้ม การขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เฉลี่ยประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นการใช้บริโภคภายในประเทศ เนื่องจากมีความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปีตามการขยายตัวของสถานการณ์การส่งออกปศุสัตว์ ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในตลาดเอเชียที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมาของเกษตรกรประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง จากราคาเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืช ประกอบกับทรัพยากรดินที่มีสภาพเสื่อมโทรม ทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำจึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนการผลิต รวมทั้งการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรมาโดยตลอด ทั้งนี้การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะทำให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันยังเป็นการปรับปรุงคุณภาพดินในระยะยาว อีกทั้งการใช้ถ่านชีวภาพยังมีความปลอดภัยทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตต่ำ กระบวนการผลิตและการใช้ไม่ยุ่งยาก

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.3.2

First Page

9

Last Page

14

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.