UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2017-01-01
Abstract
อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2558 (กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. 2558) ได้รายงานจำนวนโคนมในประเทศไทยว่ามีทั้งสิ้น509,524 ตัวในจำนวนดังกล่าวเป็นแม่โครีดนมจำนวน 235,829 ตัว ผลิตน้ำนมได้ปี ละ 1,084,162 ตันน้ำนมดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากฟาร์มโคนมขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อยจำนวน16,248 ครัวเรือน โดยจะถูกส่งไปรวบรวมยังศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ (Milk Collecting Center)จำนวน 158 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ก่อนที่จะถูกแปรรูป หรือส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่อไป ทั้งนี้ คุณภาพของน้ำนมดิบที่ได้มาตรฐานจึงเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดังนั้น ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบจึงเป็นจุดแรกที่ต้องทำการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำนมดิบ ซึ่งประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของน้ำนม (Milk composition) เช่น ไขมัน โปรตีน น้ำตาลแล็กโทส เป็นต้น 2) ความปลอดภัย เช่นการปนเปื้อนจุลินทรีย์ สารเคมีต่าง ๆ และ 3) สุขภาพของเต้านมแม่โค หรือ ปัญหาเต้านมอักเสบเช่น การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (Somatic cell)
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.5
First Page
28
Last Page
32
Recommended Citation
อัจฉริยะขจร, กิตติศักดิ์
(2017)
"การยกระดับการควบคุมคุณภาพน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 4:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol4/iss1/6