UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2017-01-01
Abstract
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีผลผลิตทางการเกษตรเป็นรายได้หลักส่วนหนึ่งของประเทศ ปัญหาสำคัญของการทำการเกษตร คือ แมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ ที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย เช่น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แมลงมีการดื้อยา ปัญหาสิ่ง แวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นต้น ดั้งนั้น จึงมีการนำแมลงเบียนมาใช้เป็นศัตรูธรรมชาติควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี โดยมีต้นทุนต่ำและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา อย่างไรก็ดี การจะนำการควบคุมโดยชีววิธี(biological control) มาใช้ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องระบุชนิดของแมลงศัตรูพืชให้ถูกต้องแม่นยำ และเร็วที่สุดในระดับชนิดเพื่อหาศัตรูธรรมชาติมาควบคุมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์(molecular genetic techniques) เข้ามาช่วยในการระบุชนิดแมลงศัตรูพืช ในงานวิจัยนี้ได้ทำการระบุชนิดของหนอนผีเสื้อให้อาศัย และแมลงเบียนด้วยวิธีดีเอ็นเอบาร์โค้ด (DNA barcode) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของหนอนผีเสื้อกับแมลงเบียน โดยเก็บตัวอย่างหนอนผีเสื้อจากพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่ในบริเวณศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยเก็บหนอนผีเสื้อจากธรรมชาติดองด้วยเอทานอล ร้อยละ 95แล้วนำมาผ่าเพื่อดูว่า หนอนผีเสื้อถูกเบียนหรือไม่ จากนั้นเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหนอนผีเสื้อและแมลงเบียนใส่ใน 96 well-plateเพื่อส่งไปวิเคราะห์ดีเอ็นเอบาร์โค้ดที่ BOLD (Barcode of LifeData System) ประเทศแคนาดา และจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของหนอนผีเสื้อ แมลงเบียน และความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของหนอนผีเสื้อกับแมลงเบียน
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.3
First Page
17
Last Page
22
Recommended Citation
บุทเชอร์, บัณฑิกา อารีย์กุล
(2017)
"ความหลากหลายของแตนเบียนในประเทศไทย : ดีเอ็นเอบาร์โค้ด และอนุกรมวิธาน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 4:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol4/iss1/4