UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2017-01-01
Abstract
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พืชที่ปลูกกันส่วนใหญ่ในประเทศ ได้แก่ ข้าว (มากกว่าร้อยละ 50) ตามด้วยผักและผลไม้ต่าง ๆ (เช่น ชา ข้าวโพดและกล้วย) (NESDB, 2005)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยคิดเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ(168,854 ตารางกิโลเมตร) และประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ประชากรของภาคตะวันออกฉียงเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กระนั้น คุณภาพของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นต่ำสำหรับการทำเกษตรกรรมเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ (Fukai, Sittisuang, and Chanphengsay,1998) เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นทรายเนื้อละเอียด นอกจากนี้ ลักษณะภูมิประเทศยังมีแหล่งน้ำอยู จำกัดปริมาณน้ำฝนก็ไม่แน่นอน กล่าวคือ บางครั้งมีฤดูแล้งที่ยาวนาน ตามด้วยฤดูฝนที่มีน้ำท่วม แม้ปัญหาจะทุเลาลงบ้างเพราะมีโครงการชลประทาน แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวยังก่อให้เกิดปัญหาใหม่ นั่นคือ ปัญหาดินเค็ม นอกจากนี้พื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งกลายสภาพมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ผลผลิตต่อพื้นที่เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรม (industrial agriculture) ซึ่งเป็นการเร่งให้คุณภาพดินเสื่อมเสียเร็วขึ้นไปอีก (Fedra, Winkelbauer, and Pantulu, 1991; NESDB, 2005)เมื่อสังคมสมัยใหม่กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเกษตรจึงเปลี่ยนเป็นการเกษตรอุตสาหกรรมไปด้วยเกษตรอุตสาหกรรม หมายถึง ระบบการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และสารเคมีสังเคราะห์ และสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม การให้หัวอาหารแก่สัตว์เลี้ยง และมีการทำชลประทานและไถพรวนกันอย่างแพร่หลาย วิธีการนี้ทำให้สามารถได้ผลผลิตจำนวนมากในพื้นที่น้อยและใช้แรงงานมนุษย์น้อยลง(Seufert, Ramankutty, and Foley, 2012) แต่กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานมาก ๆ แบบเกษตรอุตสาหกรรมส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การชะละลายของสารเคมี ความเสื่อมโทรมของดินและการสูญูเสียความหลากหลายทางชีวภาพ งานวิจัยมากมายที่ทำ การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเกษตรอุตสาหกรรมและเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกันแสดงให้เห็นว่าเกษตรอินทรีย์ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์มากกว่าเกษตรอุตสาหกรรม (Bengtsson, Ahnstrom, and Weibull, 2005) นอกจากนี้การใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยังทำให้มนุษย์เผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่กระนั้น เนื่องจากเกษตรอุตสาหกรรมให้ผลผลิตที่รวดเร็วกว่าเกษตรกรในประเทศไทยจึงยังเป็นที่นิยม ทำให้เกิดปัญหาดินคุณภาพต่ำอย่างต่อเนื่อง (Fukai, Sittisuang, and Chanphengsay, 1998)
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.2
First Page
10
Last Page
16
Recommended Citation
สมบูรณ์นะ, นราพร; วิลันโท, อลิษา; ชนะบุญ, รัตน์มณี; โคมกระจ่าง, ภัสสิริ; and ปัญหา, สมศักดิ์
(2017)
"ไมโครไบโอมในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 4:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.4.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol4/iss1/3