UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้เป็นจำนวนมาก และมหาอุทกภัยที่เกดิ ขึ้นในปี พ.ศ. 2554ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เขตเมือง บ้านพักอาศัย รวมทั้งกรุงเทพมหานครส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน ที่พักอาศัยของประชาชนจำนวนมากมาย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากผลการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมถึง 61 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึง3.9 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 19.00 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555)จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น พบว่า มีประเด็นปัญหาด้านการจัดการข่าวสารและการสื่อสารข้อมูล/ข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชน ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ การอพยพ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้ง ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยด้วย ดังปรากฏตามรายงานข่าวที่เสนอว่า "ผลการให้ข่าวคลุมเครือนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งหยุดการผลิต รวมถึงผู้ผลิตข้ามชาติอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า และนิกคอน คนงานอย่างน้อย 600,000 คนต้องหยุดงาน" (Supawan, 2554) สร้างความเสียหายต่อ โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในประเด็นนี้ Hirschburg, Dillman, and Ball-Rokeach (1986) อธิบายว่า ท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัตทางธรรมชาติย่อมก่อให้เกิดความคลุมเครือไม่ชัดเจนที่ประชาชนมีต่อเหตุการณ์ ประชาชนเกิดความรูสึ้กสับสนคลุมเครือต่อเหตุการณ์พิบัติภัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว ในสภาพการณ์เช่นนี้ประชาชนจะมีการแสวงหาข่าวสารที่ผิดแผกไปจากสภาวะปกติ หรือผิดไปจากที่เคยเปิดรับข่าวสารตามปกติในแต่ละวัน อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากกว่าปกติ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการกระทำที่จะช่วยให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนใกล้ชิดมีชีวิตรอดปลอดภัย และป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตนเองและครอบครัวไว้ได้การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทสื่อที่ประชาชนใช้เนื้อหาข่าวสารที่ประชาชนต้องการบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดรับข่าวสารของบุคคลโดยเจาะจงศึกษากรณีเฉพาะเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย เพื่ออธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับ การวางแผนการจัดการระบบการสื่อสารในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จะช่วยให้สามารถวางแผนจัดการด้านการสื่อสารในภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถรอดปลอดภัยจากภัยพิบัติ ช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.4
First Page
21
Last Page
27
Recommended Citation
คลี่ฉายา, พนม
(2016)
"การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss3/5