UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2557) ได้เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากและส่งผลอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นับเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ที่หาทางป้องกันได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการฟื้นฟูมาก ดังนั้น การบริหารจัดการภัยพิบัติจึงเป็นประเด็นท้าทายที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตของนานาประเทศทั่วโลกข้อมูลจากรายงานภัยพิบัติโลก หรือ WorldDisaster Report 2014 ของ International Federationof Red Cross and Red Crescent Societies(IFRC) (2014) สรุปผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557 เป็นจำนวนถึง 1,059,072 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้เสียชีวิตเฉพาะในภูมิภาคเอเชียถึง 690,118 คน มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติรวม 1,669,626 ล้านเหรียญ มูลค่าความเสียหายในภูมิภาคเอเชียจำนวน 759,647 ล้านเหรียญผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกจำนวน1,997 ล้านคน เป็นผู้ได้รับผลกระทบในภูมิภาคเอเชียจำนวน 1,616 ล้านคน ประเภทของภัยพิบัติเฉพาะที่เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ (natural disaster) เกิดขึ้นรวมจำนวน 3,867 ครั้งในจำนวนนี้เป็นอุทกภัยจำนวน1,752 ครั้ง ซึ่งนับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทั่วโลกจากการประชุม World Conference on DisasterRisk Reduction 2015 ณ เมืองเซนได (Sendai)ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประกาศใช้กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573(Sendai Framework for Disaster Risk Reduction2015-2030) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 15 ปี มีหลักการสำคัญ คือ เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและลดการสูญเสียชีวิต วิถีชีวิต และสุขภาพ ตลอดจนลดความสูญเสียต่อสินทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมตามมาตรการทางเศรษฐกิจโครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม การศึกษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และมาตรการเชิงสถาบัน (institutional) ที่มีการบูรณาการและลดความเหลื่อมล้ำในการป้องกันการทำให้ความล่อแหลมและความเปราะบางลดลง ตลอดจนเพิ่มความสามารถ
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.3
First Page
14
Last Page
20
Recommended Citation
สิทธิศรัณย์กุล, พรชัย; จงสุขไกล, กิ่งกาญจน์; and ฉิมมามี, มนทกานต์
(2016)
"แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss3/4