UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South EastAsian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN จุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ความร่วมมือในด้านการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีแต่ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ปรากฏผลให้เห็นชัดเจนมากเท่าใดนัก อาจเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านบริบทของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรดังจะเห็นได้ชัดเจนจากรายงานผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment: PISA)จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OECD จำนวน 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมาเลเซียและเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมการจัดอันดับ PISA ในปี ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรก จากผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่ามีเพียงหนึ่งหรือสองประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่มีผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต้นของโลกขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง ประเทศไทยต่างประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น และถึงแม้จะมีความพยายามในการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้กับการพัฒนาการศึกษาแต่ผลที่ได้กลับไม่สอดคล้องกับการลงทุนที่มากมายมหาศาล จากการศึกษาข้อมูลในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหา พบว่า รูปแบบและวิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านกายภาพและการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นหลัก นอกจากนั้นกลุ่มประเทศดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในระดับน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศ จากความสำคัญดังกล่าวจึง เป็นที่มาของ "การศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผูน้ำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาซึ่งความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันและสภาพการปฏิบัติที่่พึงประสงค์ในอนาคตของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน แล้วจึงวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญประเด็นภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึก ษาที่ควรได้รับการเสริมสร้างโดยเร่งด่วน และเสนอกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.2
First Page
8
Last Page
13
Recommended Citation
สุเมตติกุล, ปิยพงษ์
(2016)
"กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน),"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss3/3