UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone MineralDensity) ลดลงควบคู่ไปกับโครงสร้างของกระดูก ที่เสื่อมลงจึงทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่ายพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยที่โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น การที่กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เกิดจากผลรวมของความแข็งแรงกระดูกลดลง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ของกระดูก ซึ่งส่งผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดทับได้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหักของกระดูกได้จากจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีผู้ป่วยกระดูกพรุนและกระดูกหักเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนตลอดอายุขัยเป็นปัญหาที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบประมาณร้อยละ 30-50 ในผู้หญิง และร้อยละ 15-30 ในผู้ชาย(Randell et al., 1995) ทั้งนี้ การเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน(Estrogen) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ผู้สูงอายุผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ภาวะโภชนาการ เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย เป็นต้น พันธุกรรม เชื้อชาติ การขาดการออกกำลังกาย โรคประจำตัวบางอย่างเช่น เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่นยาสเตียรอยด์ เป็นต้น (ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล, 2552)ดังนั้น การศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุนจึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถหาแนวทางป้องกันผลกระทบจากปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนต่อไปการเกิดภาวะกระดูกพรุน เกิดจากความไม่สมดุลของกระบวนการสร้างและสลายกระดูก ซึ่งโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการสร้างและสลายกระดูกนั้น สร้างมาจากยีนที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนที่แตกต่างกันในหญิงวัยหมดประจำเดือน ยกตัวอย่างเช่น ยีน VDR(Vitamin D receptor) หรือยีนตัวรับวิตามินดี ซึ่งเป็นยีนที่นิยมหาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมต่อการเกิดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน จากการศึกษาของ Thakkinstian และคณะ (2004) พบว่าที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน BsmI มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสันหลัง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสะโพก Gross และคณะ(1996) พบว่า ที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน FokI มีความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกและการเกิดโรคอีกด้วย เป็นต้น
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.2.5
First Page
29
Last Page
33
Recommended Citation
อิ่มเงิน, ชลิต; ธรรมโชติ, ณัฐพล; วงษ์กุหลาบ, แอนนา; and ญาณทัศนีย์จิต, ปฐมวดี
(2016)
"ภาวะพหุสัณฐานของยีน FSHR ที่ตำแหน่งเบส -29 และ 2039 ของโรคกระดูกพรุน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss2/6