•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2016-01-01

Abstract

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีงานทำในภาคเกษตรกรรมประมาณ 12.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.74ของประชากรที่มีงานทำทั้งหมด (38.09 ล้านคน) (ข้อมูล ณ ตลุาคม 2558) (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ, 2558)อาชีพเกษตรกรจึงเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันยังคงเน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช และช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยในแต่ละปี มีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าแสนตันและมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง(Panuwet et al., 2012) ในปี พ.ศ. 2556 มีรายงานปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชสูงถึง 164,383 ตันหรือคิดเป็นมูลค่า 22,044 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2557) ผลของการทำเกษตรกรรมโดยใช้เคมีเป็นหลักทำให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสขุภาพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศ การเจ็บป่วยหรือได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ(Panuwet et al., 2012) จากข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 12.37 รายต่อประชากรกลางปี แสนคน ซึ่งพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอาชีพเกษตรกรร้อยละ 37.07 นอกจากนี้ ผลการตรวจคัดกรองระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzymes)ในเลือดของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ทางชีวภาพ (Biomarker) ต่อสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และคาร์บาเมต (Carbamate) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพบว่า เกษตรกรร้อยละ 30.57 มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2558) และมีรายงานถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวว่า เกิดจากการขาดความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม เช่น ผสมสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะที่ผสมหรือพ่นสารกำจัดศัตรูพืช หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างไม่ถูกวิธี (Norkaew, 2009; Panuwet et al., 2012; Taneepanichskul et al., 2012a, 2012b;Taneepanichskul et al., 2010; Tirado et al., 2008; Wilaiwan and Siriwong, 2014) ดังนั้น งานวิจัย นี้จึงมุ่งศึกษาสถานการณ์การใช้สารกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร เพื่อพัฒนาโปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ที่สามารถดำเนินการถ่ายทอดได้จริงในกลุ่มเกษตร เพื่อป้องกันการเกิด ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.2.2

First Page

11

Last Page

18

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.