UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีงานทำในภาคเกษตรกรรมประมาณ 12.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.74ของประชากรที่มีงานทำทั้งหมด (38.09 ล้านคน) (ข้อมูล ณ ตลุาคม 2558) (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ, 2558)อาชีพเกษตรกรจึงเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันยังคงเน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช และช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยในแต่ละปี มีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าแสนตันและมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง(Panuwet et al., 2012) ในปี พ.ศ. 2556 มีรายงานปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชสูงถึง 164,383 ตันหรือคิดเป็นมูลค่า 22,044 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2557) ผลของการทำเกษตรกรรมโดยใช้เคมีเป็นหลักทำให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสขุภาพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศ การเจ็บป่วยหรือได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ(Panuwet et al., 2012) จากข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 12.37 รายต่อประชากรกลางปี แสนคน ซึ่งพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอาชีพเกษตรกรร้อยละ 37.07 นอกจากนี้ ผลการตรวจคัดกรองระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzymes)ในเลือดของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ทางชีวภาพ (Biomarker) ต่อสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และคาร์บาเมต (Carbamate) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพบว่า เกษตรกรร้อยละ 30.57 มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2558) และมีรายงานถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวว่า เกิดจากการขาดความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม เช่น ผสมสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะที่ผสมหรือพ่นสารกำจัดศัตรูพืช หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างไม่ถูกวิธี (Norkaew, 2009; Panuwet et al., 2012; Taneepanichskul et al., 2012a, 2012b;Taneepanichskul et al., 2010; Tirado et al., 2008; Wilaiwan and Siriwong, 2014) ดังนั้น งานวิจัย นี้จึงมุ่งศึกษาสถานการณ์การใช้สารกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร เพื่อพัฒนาโปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ที่สามารถดำเนินการถ่ายทอดได้จริงในกลุ่มเกษตร เพื่อป้องกันการเกิด ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.2.2
First Page
11
Last Page
18
Recommended Citation
ศิริวงศ์, วัฒน์สิทธิ์; งานฉมัง, ฐิติรัช; and เกียรติมาลีสถิตย์, ศรัณย์
(2016)
"โปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss2/3