UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ฟอสฟอรัสที่สะสม (Phosphorus accumulated) อยู่ในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียน (Recirculating aquaculture system: RAS) นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำในระยะยาว โดยทั่วไปฟอสฟอรัสที่มาจากการให้อาหารจะถูกสะสมอยู่ในระบบหมุนเวียนน้ำตลอดช่วงระยะเวลาการเพาะเลี้ยง ในขณะที่ไนโตรเจนสามารถถูกกำจัดออกไปได้ในรูปของแก๊สไนโตรเจนด้วยกระบวนการบำบัดดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification) ผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นว่าไซยาโนแบคทีเรียชนิด Synechocystis sp. PCC 6803 สามารถกำจัดฟอสเฟตออกจากน้ำในระบบ RAS ได้โดยกระบวนการฟอสเฟตแอสซิมิเลชั่น (Phosphate assimilation) (Burut-Archanai และคณะ, 2013) อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการกำจัดฟอสเฟตสะสมด้วยการใช้เซลล์ Synechocystis sp. ที่มีขนาดเล็ก จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการปั่นเหวี่ยง (Centrifuge) เพื่อแยกเซลล์ออกจากน้ำ ทำให้ไม่สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับระบบ RAS ขนาดใหญ่ได้
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.6
First Page
29
Last Page
32
Recommended Citation
โรจน์สิทธิศักดิ์, ปราณี; บุรุษอาชาไนย, สุรเชษฐ์; โพธิพงศา, อภิรดี; and เผ่าทองศุข, สรวิศ
(2016)
"การใช้ ไคโทซานในการตรึงเซลล์ไซยาโนแบคทีเรีย Synechocystis sp. ด้วยวิธีการเกาะติดและการกักเก็บเซลล์ในเจลไคโทซาน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss1/7