UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar energy) เป็นพลังงานสะอาดที่มีความยั่งยืน เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีศักยภาพสูง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ นอกจากการใช้โซลาเซลล์ (Solar cell) ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ในปัจจุบันยังมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานความร้อนโดยตรงเพื่อใช้ในกระบวนการทำความร้อน ซึ่งแต่เดิมผลิตภัณฑ์เครื่องทำน้ำร้อนที่ใช้ในบ้านพักอาศัยทั้งในและ ต่างประเทศใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบท่อแก้วสุญญากาศหรือแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นราบ สามารถทำอุณหภูมิได้ ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ถูกจำกัดเพื่อการทำน้ำอุ่นใช้ ในที่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ในต่างประเทศและในประเทศยังไม่มีผลิตภัณฑ์แผงรับแสงอาทิตย์ขนาดเล็กที่ให้อุณหภูมิสูงเกินกว่า 100 องศาเซลเซียสได้ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แผงรับแสงอาทิตย์ที่สามารถทำอุณหภูมิได้สูงเกิน 100 องศาเซลเซียส นั้นมีความจำเป็นต้องใช้แผงรับแสงอาทิตย์ชนิดรวมแสง เช่น รางพาราโบลา (Parabolic trough) หรือ จานสะท้อนแสง (Parabolic dish) ซึ่งต้องทำงานร่วมกับระบบติดตามดวงอาทิตย์เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน แต่อย่างไรก็ตาม การนำระบบติดตามดวงอาทิตย์ มาใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดเล็กอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ เช่น ทำให้แผงรับแสงอาทิตย์มีราคาสูงแผงรับแสงอาทิตย์มีความซับซ้อนและมีชิ้้นส่วนเคลื่อนไหวซึ่งอาจก่อให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ ประเทศไทยมีปริมาณรังสีกระจาย (Diffuse radiation) ในระดับสูง สัดส่วนของรังสีกระจายของประเทศไทยอยู่ระหว่าง 31 เปอร์เซ็นต์ ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ (เสริม จันทร์ฉาย และจรุงแสง ลักษณบุญส่ง, 2542) ส่งผลให้อุปกรณ์รวมแสงชนิดต่างๆ ไม่สามารถนำรังสีกระจายมาใช้ประโยชน์ได้
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.4
First Page
18
Last Page
24
Recommended Citation
รติสมิทธ์, วัฒนา
(2016)
"นวัตกรรมแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางซีพีซี (Compound Parabolic Concentrator) สำหรับกระบวนการทำความร้อน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss1/5