UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ชุมชนคลองลำไทร หรือ คอยรุตตั๊กวา ตั้งอยู่ในหมู่ที่่ 5 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ติดต่อ กับจังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนคอยรุตตั๊กวาเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่อายุกว่า 130 ปี คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การปลูกข้าว และการทำปศุสัตว์ ดำเนินวิถีชีวิตอย่างสุขสงบตามหลักศาสนาอิสลาม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนประกอบด้วย 140 ครัวเรือน (สมาคมครูภูมิปัญญาไทย, 2555) มีคลองลำไทรซึ่งเป็นคลองสาขาเชื่อมต่อจากคลองแสนแสบ เป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์จากการสอบถามคุณครูสมชาย สมานตระกูล ผู้นำชุมชนคอยรุกตั๊กวา พบว่า ชุมชนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการตะกอนดินคลองที่มีการสะสมมากแต่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ รวมทั้งปัญหาการทำลายฟางข้าวที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยวิธีเผาซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและทัศนียภาพ อีกทั้ง หลังจากชุมชนประสบปัญหาอุทกภัย เมื่อ พ.ศ. 2554 ทางชุมชนมีการขุดลอกตะกอนคลอง เพื่อให้คลองมีการระบายน้ำได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการขุดลอกคลองแต่ละครั้ง จะมีปริมาณตะกอนดินมาก และไม่มีการจัดการตะกอนหลังขุดลอกคลอง โดยส่วนใหญ่ชุมชนจะนำตะกอนที่ขุดลอกแล้วนั้นถมตามแนวริมคลอง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ (สมชาย สมานตระกูล, สัมภาษณ์, 2555) จากการสำรวจปัญหาในชุมชนคลองลำไทร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า มีการสะสมของตะกอนดินคลองที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มีการทำลายโดยวิธีเผา ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในการศึกษานี้ได้นำตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าวจากชุมชนมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการผลิตอิฐ ก้อนเชื้อเพลิงอัดแท่ง และปุ๋ยอินทรีย์ โดยนำหลักการประเมินวฏัจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) มาใช้ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสะสมของตะกอนดินจากคลอง และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ในชุมชน และสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.3
First Page
14
Last Page
17
Recommended Citation
ศุภคต, นุตา
(2016)
"แนวทางการจัดการตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าว ในชุมชนคอยรุตตั๊กวา หนองจอก,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss1/4