UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในพื้นที่เมือง ซึ่งมีกลุ่มอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่ลักษณะสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ กระจุกตัวกันอย่างหนาแนน่ และจากการใช้พลังงานภายในพื้นที่เมืองหรือกิจกรรมต่างๆ ของประชากรเมืองซึ่งทำให้อุณหภูมิภายในพื้นที่เมืองสูงกว่าพื้นที่ชานเมืองหรือภายนอกเมืองเป็นเวลานานและต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองหลวงขนาดใหญ่ของโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองหรือบริเวณเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่มีแนวโน้มในการพัฒนาพื้นที่สูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนในพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานคร ด้วยแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมืองที่มีความเป็นไปได้จริง และสอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่เมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมืองกับลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในปรากฏการณ์เกาะความร้อนของพื้นที่ จะทำให้ทราบถึงรายละเอียดด้านกายภาพร่วมกันของสภาพแวดล้อมเมืองในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สำคัญที่จะมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นในพื้นที่ในอนาคต ข้อ ค้นพบจากการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำคัญในการนำเสนอลักษณะกายภาพเมืองที่เหมาะสม ที่จะสามารถช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองจากการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลดปัญหาการแผ่ขยายเกาะความร้อนของเมืองออกสู่พื้นที่โดยรอบเมืองได้
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.1
First Page
3
Last Page
8
Recommended Citation
ธรรมาภรณ์พิลาศ, จิตติศักดิ์
(2016)
"แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมือง พื้นที่กรุงเทพมหานครเขตชั้นในเพื่อบรรเทาปัญหาปรากฎการณ์เกาะความร้อน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 3:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.3.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol3/iss1/2