UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2015-01-01
Abstract
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-learning เป็นการ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา สื่อการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ สไลด์ และวิดีโอ จะถูกผลิต ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตัลและนำส่งให้ผู้เรียนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจึงสามารถเข้าถึงระบบ E-Learning ได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้ว่า E-Learning จะมีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันการศึกษาเพื่อเสริม การเรียนแบบปกติในห้องเรียน แต่ความสำเร็จที่แท้จริง ในการประยุกต์ใช้ E-Learning นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ใน แวดวงการศึกษาเท่านั้นดังจะเห็นได้ว่า ในศตวรรษที่ 20 องค์กรขนาดใหญ่ประสบกับปัญหาที่ต้องอบรม บุคลากรจำนวนมาก การอบรมแบบปกติที่มีลักษณะ คล้ายกับห้องเรียนใช้เวลามากและไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับ งบประมาณที่ต้องใช้ ในทางตรงกันข้าม E-Learning ได้ถูกนำมาใช้โดยการผนวกเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับกระบวนการฝึกอบรมและการวัดผล โดยสื่อการ เรียนรู้จะถูกผลิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้น จึงติดตั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware) ลงบนเว็บไซต์ด้วยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการเรียนรู้ (Learning Management System) หรือ LMS และ เปิดให้ผู้อบรมลงทะเบียนใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ E-Learning หมายรวมถึง การวัดผลการเรียนรู้ และการสอบเพื่อวัดขีดสมรรถนะด้วย โดยในกรณีนี้ ต้องใช้คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Item Bank) เพื่อจัดเก็บข้อทดสอบที่มีจำนวนมากอย่างเป็นระบบ ชุดทดสอบซึ่งประกอบด้วยข้อทดสอบจำนวนหนึ่ง (เช่น 1 ชุดทดสอบ ประกอบด้วย 100 ข้อทดสอบ) จะถูกสุ่ม จากคลังข้อสอบตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ขอบเขต และ ความยาก เป็นต้น ภายหลังการสอบ ค่าสถิติต่างๆ เช่น ดรรชนีความยาก และดรรชนีอำนาจจำแนก จะถูกคำนวนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน ยกเว้นการทำข้อสอบ ที่ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้กระดาษ คำถามและกระดาษคำตอบ แต่การทำข้อสอบบน คอมพิวเตอร์ก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น และจะเข้ามา แทนที่การสอบด้วยกระดาษในอนาคต
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.3.1
First Page
3
Last Page
7
Recommended Citation
อาภรณ์เทวัญ, ชัชวิทย์; เสถียรรุ่งเรือง, พิสัยรัตน์; and มีสิทธิกุล, สุทธิพงษ์
(2015)
"บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนของชาติ,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 2:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol2/iss3/2