•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2015-01-01

Abstract

การที่ประชาชนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ยัง ประสบปัญหาความยากจน ทั้งๆ ที่มีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานได้พยายามเข้าไปให้ความรู้และความช่วยเหลือ แต่ประชาชนกลับ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ สาเหตุสำคัญ เพราะประชาชนยังขาดความรู้ และงบประมาณในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หน่วยงานของรัฐพยายามนำเสนอ ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยที่ เหมาะสมกับท้องถิ่น สามารถ เข้าใจได้ง่าย นำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ อีกสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนของประชาชนในภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทของ ประเทศไทยยังเป็นผลมาจากปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำที่เป็นทรัพยากร ทุนในการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต ทำให้เกษตรกรพยายามปรับปรุงคุณภาพดิน โดยใช้สารเคมี ในการเร่งผลผลิต และสารเคมีปราบศัตรูพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ในขณะที่ผลผลิต ที่ได้ยังไม่มีคุณภาพนัก นอกจากนั้น การใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรกรรม ยังส่งผลต่อคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม การตกค้างของสารเคมีในดินในระยะยาว สุขภาพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีของ เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก การดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการทำเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมีต่ำ บำรุงและดูแลรักษา สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุนในการผลิต และเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ ให้สามารถใช้ได้ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการการปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทาง อาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในประเภทโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้ โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีความมุ่งหวังที่จะนำ ความรู้จากการศึกษาวิจัย ในการใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) เพื่อปรับปรุงคุณ ภาพดิน และเพิ่มผลผลิต ทางการ เกษตร ด้วยนวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเตาเผาถ่านชีวภาพ Controlled Temperature Biochar Retort for Slow Pyrolysis Process ที่มี กระบวนการทำงานที่ง่ายและมีต้นทุนการผลิตเตาที่ไม่สูง ผ่านการทดลองผลิตถ่านชีวภาพจากวัตถุดิบ หลากหลายชนิดจนได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณภาพ เพี่อสร้างระบบการเรียนรู้และการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างต้นแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ต่อไป

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.2.4

First Page

21

Last Page

27

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.