UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2015-01-01
Abstract
เมืองสุขภาวะ หมายถึง เมืองที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างภาวะแห่งการมีความสุขให้กับประชากรเมืองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นเมืองที่ส่งเสริมให้ประชากรมีร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขภายใต้บริบทของความเป็นอยู่แบบเมือง ทั้งนี้ การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ไม่ใช่วิถีตามธรรมชาติของมนุษย์ที่อาศัยอยูกั่บธรรมชาติซึ่งห่างไกลจากมลภาวะที่เกิดจากการรวมตัวกันเกินกว่าความสามารถในการรองรับตามปกติของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากแต่เดิมมนุษย์มีความเป็นอยู่ตามแรงผลักดันของสัญชาตญาณของความอยู่รอดเป็นหลัก โดยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ใช้แรงงานในลักษณะของสังคมเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทแต่เมื่อสังคมมนุษย์พัฒนาสู่การเป็นสังคมเมือง มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบความเป็นอยู่จากชนบทเข้าสู่เมือง เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตที่รีบเร่งและเผชิญกับความเครียดสูง ต้องแย่งชิงทรัพยากรต่างๆเพื่อให้อยู่รอดในสังคมที่มีทรัพยากรขาดแคลน อยู่ในสังคมที่มีกฎระเบียบที่เคร่งครัดเพื่อความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม มีความเป็นอยู่ที่แออัด อยู่กับแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษห่างไกลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีคุณภาพ นำมาสู่การเกิดทุพภาวะที่มีลักษณะเฉพาะของประชากรเมือง เช่น การขาดพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาตรฐาน การขาดกิจกรรมทางกาย (Inactive Physical Activity) ดังนั้น วิถีชีวิตแบบเมืองและการขาดพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมกายภาพที่ดี ทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และการเข้าถึง จึงนำมาสู่ประเด็นปัญหาสุขภาพเมือง
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.2.3
First Page
13
Last Page
20
Recommended Citation
ภู่จินดา, พนิต
(2015)
"หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ เมืองสุขภาวะ,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 2:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol2/iss2/4