UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2015-01-01
Abstract
ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยแต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมดนตรี ที่แตกต่างกันอันเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์ของสังคมนั้นๆ มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สร้างงานดนตรีขึ้นตามจินตนาการที่ มีเอกลักษณ์ของตนเพื่อบรรยายอารมณ์ความรู้สึก และสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ออกมาเป็นเสียงดนตรี โดยใช้ ความสั้นยาวของจังหวะ และการร้อยเรียงเสียงสูงต่ำ เพื่อแสดงให้เห็นภาพพจน์ตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ แล้วจึง ถ่ายทอดบทเพลงต่อๆ กันไป วัตถุประสงค์ในการใช้ดนตรีของมนุษย์มีหลากหลาย เช่น นำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อดั้งเดิม ใช้เป็นเครื่องผ่อนคลายให้ผู้คนในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ดนตรียังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน เช่น 1) ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของ กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือด 2) ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สติสัมปชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา เป็นต้น ดนตรีบำบัด (Music Therapy) จึงกลายเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยบำบัดรักษาความผิดปกติทางร่างกาย ทางอารมณ์ และทางสังคม ซึ่งมีการศึกษาและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย งานด้านดนตรีบำบัดนับว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้น เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบาย คือ รัฐบาล โดยในสังคมเมืองใหญ่ ดังเช่น กรุงเทพมหานคร ด้วยมลภาวะที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภาระทาง ด้านการงานที่รัดตัว ทำ ให้เกิดภาวะความเครียดแก่ผู้คนในชุมชนเมือง ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย และความตึงเครียดที่ส่งผล ต่อสุขภาพจิต ด้วยเหตุนี้งานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจึงมีความจำเป็นที่สมควรได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นโครงการนำร่องใน ประเทศไทย ในการที่จะนำกิจกรรมดนตรีไปใช้เพื่อการบำบัด และเป็นทางเลือกในการบำบัดจิตใจผู้ป่วยขณะรักษาตัวอยู่ ในโรงพยาบาล
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.2.2
First Page
8
Last Page
12
Recommended Citation
บิณฑสันต์, บุษกร
(2015)
"การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคไต ขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 2:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.2.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol2/iss2/3