UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2014-01-01
Abstract
หินน้ำมัน (Oil shale) เป็นหินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่มีสารอินทรีย์ คือ คีโรเจน (Kerogen) เป็นองค์ประกอบ สำคัญ เกิดจากการทับถมกันของซากสิ่งมีชีวิตเป็นเวลานับล้านปี โดยไม่ถูกทำลายโดยแบคทีเรีย ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดิน ทราย ในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ทะเลสาบกว้างใหญ่ ทะเลสาบตื้นชายฝั่ง ทะเลสาบขนาดเล็ก และบริเวณ ปากแม่น้ำ เกิดเป็นทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม โดยการสกัดเป็นน้ำมันหิน (Retorting) หรือการใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง นอกจากนี้ กากและขี้เถ้าหินน้ำมันยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ได้ด้วย ประเทศไทยมีการค้นพบ หินน้ำมันในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยพบมากที่สุดที่แหล่งแอ่งแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นแหล่งที่มี ศักยภาพในการนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์มากที่สุด โครงการ "การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์หินน้ำมันแอ่งแม่สอด" จึงเกิดขึ้น เพื่อพัฒนา องค์ความรู้และเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์แหล่งแร่หินน้ำมันแอ่งแม่สอด ซึ่งมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบสำรองที่สำคัญของประเทศต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.3.6
First Page
29
Last Page
33
Recommended Citation
มีชำนะ, ภิญโญ
(2014)
"การศึกษาศักยภาพการใช้ประโยชน์หินน้ำมันของแอ่งแม่สอด,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 1:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol1/iss3/7