UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2014-01-01
Abstract
ในช่วงทศวรรษ 1960-1970 การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมการผลิตต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาที่ ปลายเหตุ (End of pipe) เช่น การทิ้ง การบำบัด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเชิงรับ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีและมีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยเหตุนี้แนวทางการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1980 แนวคิดการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไปเน้นที่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ โดยลดการเกิดมลพิษหรือปัญหาจาก กระบวนการผลิตแทน ผนวกกับกระแสแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น แนวคิดต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด การประเมินวงจรวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ฯลฯ จึงได้รับการยอมรับจากภาคการผลิต ภาครัฐ และภาคประชาชน ในการนำมาใช้บริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นกิจกรรมการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารสำหรับการบริโภค ภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ เพราะว่าบรรจุภัณฑ์อาหารจะทำหน้าที่ยืดอายุการเก็บรักษาและ รักษาคุณภาพอาหารทั้งในด้านกลิ่น สี รสชาติ และความอร่อยให้คงอยู่จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค อุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การบริโภคทรัพยากร และพลังงาน การทิ้งของเสียและปล่อยมลพิษ เป็นต้น กำลังเผชิญแรงกดดันโดยตรงในเรื่องของการป้องกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงได้รับแรงกดดันโดยอ้อมจากอุตสาหกรรมอาหารเกี่ยวกับ ความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety) เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมประเภทนี้จึงจำเป็นต้องปรับตัวโดยใช้ แนวคิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจท่ามกลางแรงกดดันได้ต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.3.1
First Page
3
Last Page
7
Recommended Citation
กิตติศุภกร, ไพศาล
(2014)
"การลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 1:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol1/iss3/2