UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2014-01-01
Abstract
การท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนที่สร้างรายได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยที่มีทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นสินค้าดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศของตน โดยกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ ขึ้นพร้อมทั้งแคมเปญต่างๆ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศให้มากที่สุดประเทศไทยมีความได้เปรียบในการพัฒนาการท่องเที่ยวเนื่องจากการมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ทั้งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในตลาดโลกเป็นอย่างมาก ความหลากหลายและคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวและการบริการเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวได้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทในแต่ละปีหากพิจารณาถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ผ่านมาของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวไทยนั้น จะเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวถูกพัฒนาในแง่ของการเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลทั้งทางบวกและทางลบให้แก่ทรัพยากรการท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว และชุมชนโดยรอบแหล่งท่องเที่ยว กล่าวคือการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศเพิ่มมากขึ้นมีการพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดการกระจุกตัวของการพัฒนาการท่องเที่ยว เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เกิดแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมอันยากจะฟื้นฟู โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเปราะบางการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้การดำเนินการขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) จึงเป็นเสมือนแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเชิงพื้นที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวโดยกำหนดนโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยให้มีองค์กรเข้าไปกำกับดูแลให้การพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทางลบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development)
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.2.4
First Page
17
Last Page
20
Recommended Citation
วิจิตรโกสุม, เสาวนีย์
(2014)
"แนวทางประกาศพื้นที่พิเศษ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 1:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol1/iss2/5