UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2014-01-01
Abstract
เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเมืองที่ได้รับความสนใจในการศึกษามาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2481 และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันทั้งในด้านการศึกษาทางประวัติศาสตร์ศิลปะ การขุดค้นทางโบราณคดี รวมถึงการขุดแต่งบูรณะและปรับสภาพภูมิทัศน์ จากหลักฐานการขุดค้นโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมแบบทวารวดี ซึ่งมีโบราณสถานเด่น คือ พระธาตุยาคู ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ค่อนข้างสมบรูณ์ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ 3 สมัยด้วยกัน คือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศมีปูนปั้นประดับ สร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา และส่วนยอดชาวบ้านได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2500) นอกจากนั้นยังมีการขุดพบใบเสมาหินทรายแกะสลัก ภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติโดยใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยางมีการกล่าวถึงมากที่สุด ในเรื่องของคุณค่าทางวิชาการ เนื่องจากมีแบบศิลปะที่งดงามและมีภาพสลักเล่า เรื่องทางพุทธศาสนาที่นำเนื้อหามาจากคัมภีร์พุทธประวัติและชาดก เช่นมหาชนกชาดกมโหสถชาดกเป็นต้น ซึ่งภาพแกะสลักนี้ยังทำให้ทราบถึงคติความเชื่อความนิยม รวมถึงการแต่งกายและสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น ได้อีกด้วย มีการประมาณอายุใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยางว่ามีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 เมืองฟ้าแดดสงยางจึงนับเป็นแหล่งเสมาหินใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วยร่องรอยการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง แสดงให้เห็นถึงการอาศัยอยู่ของชุมชนโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยหนึ่ง สังเกตได้จากมีการออกแบบวางผังเมืองการสร้างระบบชลประทาน การนับถือศาสนา รวมถึงการประดิษฐ์อุปกรณ์ของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นเครื่องปั้นดินเผาเป็นต้น ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเมืองฟ้าแดดสงยางในอดีต จึงมีความสำคัญเพราะนอกจากสามารถสะท้อนภาพประวัติศาสตร์สมัยทวารวดีให้ชัดเจนขึ้นแล้วยังช่วยให้ชนรุ่นหลังมีความเข้าใจถึงวิถีชีวิต ความคิด และความเชื่อ ของบรรพบุรุษในยุคก่อนของตนด้วย
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.2.3
First Page
11
Last Page
16
Recommended Citation
แสงสว่าง, ชัยชนะ
(2014)
"วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐาน เมืองฟ้าแดดสงยาง: มุมมองจากภาพถ่ายทางอากาศ การขุดแต่งและการขุดค้นทางโบราณคดี,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 1:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.1.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol1/iss2/4