•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การเปรียบเทียบผลในการระงับปวดของ 0.5% bupivacaine HCI ภายหลังการผ่าตัดช่องอกระหว่าง ซี่โครงที่ 4 และ 5 ในสุนัขเพศผู้ จำนวน 20 ตัว โดยแบ่งสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการฉีดยาชา bupivacaine HCI 0.5 มิลลิลิตร และกลุ่มที่สองได้รับการฉีดยาชา bupivacaine HCl 1.0 มิลลิลิตร บริเวณ intercostal nerves ที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ทันทีภายหลังเย็บปิดช่องอก สังเกตพฤติกรรมของสุนัข ตรวจวัด อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจและความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง ก่อนและภายหลังการผ่าตัดที่ 0, 2, 4, 6, 8, 10 และ 24 ชั่วโมง เพื่อนำมาคิดเป็นคะแนนแสดงความเจ็บปวด (pain score) ตรวจวัด blood gas ที่ 2 และ 6 ชั่วโมง และวัดอุณหภูมิของร่างกายทุกช่วงเวลาของการวัดความดันโลหิตภายหลังการผ่าตัด กลุ่มที่ได้รับ 1.0 มิลลิลิตรมี pain score เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ 0.5 มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทุกช่วงเวลาที่ทำการวัด อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง PaO2, PaCO2, HCO3 และ pH ของเลือดสุนัขทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ที่ทุกช่วงเวลาของการวัด ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอัตราการหายใจของกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine HCI 0.5 มิลลิลิตร สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ ยา 1.0 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามพบ hypoxemia 26.6% และ 30% จากการตรวจวัด PaO2 20 ครั้งในกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine 1.0 มิลลิลิตร และ 0.5 มิลลิลิตร ตามลำดับ

DOI

10.56808/2985-1130.1794

First Page

39

Last Page

50

Share

COinS