•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของฮอร์โมน recombinant bovine somatotropin (rBST) ต่อการตอบสนองการกระตุ้นเพิ่มการตกไข่ด้วยฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) ใน กระบือปลัก กระบือทั้งหมด 16 ตัว ถูกเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยการสอดแท่งซิลิโคนที่เคลือบด้วยโปรเจส เตอโรน และ estradiol benzoate ชนิดแคปซูล (CIDR-B) เข้าทางช่องคลอด หลังจากนั้นแบ่งกระบือออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว โดย กระบือในกลุ่มที่หนึ่งได้รับ FBST ชนิดที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ ในวันที่ 4 หลังการใส่ฮอร์โมน CIDR-B กระบือกลุ่มที่สองไม่ได้รับ FBST การกระตุ้นเพิ่มการตกไข่กระทําโดยการฉีด FSH แบบลดโต๊ส ปริมาณทั้งหมด 260 มิลลิกรัม เช้า-เย็น เป็นเวลา 3.5 วัน โดยเริ่มจากวันที่ 9-11 หลัง การให้ฮอร์โมน CIDR-B ในวันที่ 3 ของการให้ FSH ฉีดพรอสตาแกลนดินขนาด 500 ไมโครกรัม พร้อมทั้งดึง CIDR-B ออก เมื่อกระบือแสดงอาการเป็นสัด ผสมพันธุ์โดยใช้พ่อกระบือคุมฝูง ทำการเก็บตัวอ่อนในวันที่ 6 หลังจากที่กระบือแสดงอาการเป็นสัด ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนคอร์ปัส ลูเทียม ของกระบือ ในกลุ่มที่หนึ่ง และสอง เท่ากับ 6.0±2.2 และ 4.3±1.1 ตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนที่เก็บได้ และตัวอ่อนที่มี คุณภาพดีของกระบือกลุ่มที่หนึ่ง และ สอง เท่ากับ 4.5±1.6 และ 3.0±1.0 และ 2.3+1.0 และ 0.8±0.3 ตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่เก็บได้จากกระบือที่ได้รับ FBST มีมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ rBST อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) จากผลการศึกษาดังที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การให้ FBST ร่วมกับ FSH ในการกระตุ้นเพิ่มการตกไข่สามารถเพิ่มการตอบสนองของกระบือต่อการให้ฮอร์โมน โดยเฉพาะเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีได้ ผลที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ อาจนำไปสู่หนทางในการแก้ปัญหาการตอบสนองที่ต่ําของกระบือปลักต่อ การกระตุ้นเพิ่มการตกไข่ ซึ่งนับว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ในการนำเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนมาใช้ในสัตว์ประเภทนี้

DOI

10.56808/2985-1130.1758

First Page

57

Last Page

68

Share

COinS