•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

จากการชันสูตรซากสุกรขุน 12 ตัว อายุ 3-4 เดือน น้ำหนัก 30-50 กิโลกรัม อัตราป่วย 30 % อัตราตาย 5-12 % จากฝูง 3,000 ตัว มีอาการหายใจกระแทกแรงและถี่ นอนหมอบ บางตัวดีซ่าน ไม่ตอบสนองต่อการ รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ มีพยาธิสภาพคือ เยื่อเมือกซีดเหลือง ปอดอักเสบบวมน้ำ เยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้ม หัวใจอักเสบมีไฟบรินปกคลุมหนา ตับซีด และมีน้ำในช่องอก ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบการ เปลี่ยนแปลงของตับ ประกอบด้วย single cell necrosis (4/12 ตัว) angular degenerating hepatocytes (12/12 ตัว) mild vacuolation (8/12 ตัว) binucleated hepatocytes (12/12 ตัว) multinucleated hepatocytes (5/12 ตัว) hepatomegalocytosis (11/12 ตัว) centrilobular depletion (4/12 ตัว) perilobular fibrosis (5/12 ตัว) และ disorganized hepatic cord (9/12 ตัว) ที่ตับอ่อน พบ pancreatic acinar cell degeneration (7/12 ตัว) และที่ปอด พบ pulmonary edema ลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ interlobular edema (8/12 ตัว) alveolar edema (11/12 ตัว) interstitial edema (5/12 ตัว) ร่วมกับ pneumonia (11/12 ตัว) ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อรา ของตัวอย่างอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรชุดนี้ โดยวิธีอีไลซ่าพบ Total fumonisin ในปริมาณ 0.3 - 5.2 ppm และ Total aflatoxin ในปริมาณ 19.1 - 60.5 ppb ผลการแยกเชื้อพบ E.coli และ Salmonella group B แต่ไม่พบเชื้อ ไวรัสที่สำคัญที่ทําให้เกิดโรคในสุกรเช่น SFV, ADV และ PRRSV ผลการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่เด่น ชัดของ ตับ ตับอ่อน และปอด ร่วมกับการตรวจพบ fumonisin ในอาหาร บ่งชี้ว่ารอยโรคที่ตรวจพบอาจมี สาเหตุหลักประการหนึ่งเนื่องจากความเป็นพิษของ fumonisin โดยมี aflatoxin และการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อนเป็นสาเหตุร่วม รายงานนี้เป็นรายงานแรกในประเทศไทย ที่กล่าวถึงพยาธิสภาพของสุกร ที่มีการ เกี่ยวข้องกับ การเป็นพิษของ fumonisin ของฝูงสุกร

First Page

71

Last Page

82

COinS