•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ไก่กระทงคละเพศอายุ 1 วัน จำนวน 84 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ตัว แต่ละกลุ่มมี 4 กลุ่ม ไก่กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ไก่กลุ่มที่ 2 ได้รับซีโอไลท์ 1% ในอาหาร ตั้งแต่อายุ 1-42 วัน และไก่กลุ่มที่ 3 ได้รับการพ่นยากำจัดกลิ่น (deodorizer) ในอัตราส่วน 1:100 บนกองมูลไก่เมื่อไก่อายุได้ 21, 28, 35 และ 38 วัน ในทุกกลุ่ม ทําการวัดระดับความ เข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียที่บริเวณเหนือกองมูลไก่ โดยใช้เครื่องมือเครเกอร์ (Drager) ที่อายุ 14, 21, 28, 35 และ 42 วัน และทำการเก็บตัวอย่างเลือดที่อายุ 14 และ 42 วัน เพื่อประเมิน ค่าทางโลหิตวิทยา เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเปรียบเทียบน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราตาย อัตราแลกเนื้อ ปริมาณการกินอาหารและค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตต่อวัน จากผลการทดลอง พบว่า ระดับความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียในไก่กลุ่มที่ 3 มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 1 และ 2 นอกจาก นี้น้ำหนักตัวไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราแลกเนื้อ และค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตต่อวันในกลุ่มที่ 3 ดีกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มที่ 1 ส่วนอัตราตายไม่มีความแตกต่าง กันในทุกกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาวเฮทเทอโรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ (H/L ratio) พบว่าไก่กลุ่มที่ 1 มีค่า H/L ratio สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญ แต่ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่พบความแตกต่างในช่วงก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าไก่กลุ่มที่ 1 มีแนวโน้มที่เกิดความเครียดมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ จากผลการทดลองสามารถ สรุปได้ว่า ทั้งการใช้ซีโอไลท์และยากำจัดกลิ่นจะเป็นประโยชน์ต่อการลดความเข้มข้นของ ก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือนไก่ อย่างไรก็ตามควรจะมีการศึกษาการใช้สารเหล่านี้ในโรงเรือนไก่ ขนาดใหญ่ เพื่อวัดผลในทางปฏิบัติ

DOI

10.56808/2985-1130.1730

First Page

379

Last Page

391

Share

COinS