•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ลูกสุนัขที่มีการติดโรคพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนตามธรรมชาติไม่จำกัดเพศ พันธุ์ อายุ ไม่เกิน 3 เดือน จากฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 ตัว นำมาศึกษา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนต มีเบนดาโซล และยาถ่ายพยาธิที่มีส่วน ผสมของไพแรนเทลฟีแบนเทล พราซิควอนเทล แบ่งสุนัขทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ตัว กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับยาถ่ายพยาธิ กลุ่มที่สองให้กินยาไนโตรสะคาเนต ชนิดเม็ด ขนาด 50 มก.ต่อน้ําหนักตัว 1 กก. ครั้งเดียว กลุ่มที่สามให้กินยามีเบนดาโซล ชนิดเม็ดขนาด 22 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ติดต่อกันนาน 5 วัน กลุ่มที่สี่ให้กินยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล 144 มก. ฟีแบนเทล 150 มก. และ พราซิควอนเทล 50 มก. ขนาด 1 เม็ดต่อน้ำหนักตัว 10 กก. ครั้งเดียว ก่อนและหลังการให้ยาถ่ายพยาธิ เก็บอุจจาระและตรวจนับไข่พยาธิต่ออุจจาระ 1 กรัม (EPG) ด้วยวิธีแมคมาสเตอร์ และตรวจหาตัวพยาธิที่ถูกขับปนออกมากับอุจจาระสุนัขทุกตัว ติดต่อกันทุก วันนาน 7 วัน ภายหลังจากสิ้นสุดการทดลองทําการผ่าซากสุนัขทดลองเพื่อตรวจหาตัวพยาธิในระบบทางเดินอาหาร นับจำนวน จำแนกชนิด และประเมินประสิทธิภาพของยาด้วยวิธี critical test และ controlled test ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนต มีเบนดาโซล และ ยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล ฟีแบนเทล และพราซิควอนเทล ต่อพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจคล้ายคลึงกัน โดยที่มีเบนดาโซลและ PFP มีประสิทธิภาพสูง 97.45 -100% ต่อ พยาธิปากขอ (Ancylostoma spp.) และพยาธิไส้เดือน (Toxocara canis) ไนโตรสะคาเนตมี ประสิทธิภาพสูง 95.13-100 % ต่อพยาธิปากขอแต่มีประสิทธิภาพปานกลาง 81.90-85.29% ต่อ พยาธิไส้เดือน

DOI

10.56808/2985-1130.1710

First Page

121

Last Page

137

Share

COinS