•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ศึกษาการเจริญเติบโตของกระต่ายขุนหลังหย่านมเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ (10) ถึงส่งตลาดเมื่ออายุ 14 สัปดาห์ (W8) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในกระต่ายจำนวน 110 ตัว เกิดจากแม่พันธุ์ 4 กลุ่มพันธุ์คือ นิวซีแลนด์ไวท์ (NZW) พื้นเมือง (N) ลูกผสมระหว่างนิวซีแลนด์ไวท์กับกระต่ายพื้นเมืองทั้ง 2 แบบ (NXNZW และ NZWXN) ผสมกับพ่อพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ พบว่ากลุ่มพันธุ์มีผลต่อน้ำหนักเริ่มต้น และส่งตลาด, น้ำหนักเพิ่มและอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมของกระต่าย และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (P < .05) แต่ไม่มีผลต่อ ปริมาณอาหารขึ้นที่กระต่ายกิน ส่วนเพศไม่มีผลต่อน้ำหนักและลักษณะการเจริญเติบโตหลังหย่านม และไม่พบปฏิกิริยาร่วมระหว่างกลุ่มพันธุ์กับเพศของกระต่าย กระต่ายที่มีน้ำหนักหย่านม มากจะโตกว่ากระต่ายที่มีน้ำหนักหย่านมน้อยกว่าเมื่อส่งตลาดอายุเท่ากัน (P < .01) กระต่าย 100% นิวซีแลนด์ไวท์มีน้ำหนักตัวเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันต่ำกว่ากระต่ายลูกผสม 50 และ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ (P < .05) และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็น เนื้อต่ำกว่ากระต่าย 75% นิวซีแลนด์ไวท์แบบ NZWXNXNZW) (P < .05) เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกระต่าย 100 กับ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ ปรากฏว่า กระต่ายขุน 75% นิวซีแลนด์ไวท์ มีน้ำหนักส่งตลาดมากกว่า กินอาหารน้อยกว่า แต่มีการเพิ่มน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญ เติบโตสูงกว่าและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีกว่ากระต่าย 100% นิวซีแลนด์ไวท์ (P < .05) ส่วนกระต่าย 50 และ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ไม่แตกต่างกันในลักษณะการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระต่าย 75% นิวซีแลนด์ไวท์ 2 กลุ่มคือ NZW X (NXNZW) และ NZW X (NZWXN) ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ยกเว้นน้ำหนักหย่านม ดังนั้นการผลิตกระต่ายขุนจะใช้ระดับของนิวซีแลนด์ไวท์ 50 หรือ 75% ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของระบบการผลิต ถ้าใช้แม่พันธุ์ลูกผสม การผลิตกระต่ายขุน แบบ NZW X (NXNZW) มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารสูงสุด

DOI

10.56808/2985-1130.1516

First Page

11

Last Page

22

Share

COinS