The Thai Journal of Veterinary Medicine
Article Title
Abstract
ปัจจุบันเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนได้เข้ามามีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตในวงการปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโค, แพะ, แกะ, และม้า เป็นต้น ด้วยเหตุที่การย้ายฝาก ตัวอ่อนสามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพของสัตว์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศได้ในระยะเวลารวดเร็วที่สุด ในขณะนี้ ฉะนั้นจึงควรพิจารณากันถึงประวัติความเป็นมาของการศึกษาวิจัยการย้ายฝากตัวอ่อน ว่าเริ่มกันมาตั้งแต่เมื่อไร กว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้ดีในปัจจุบันและแนวโน้ม ในอนาคตจะพัฒนาไปอย่างไรบ้าง การย้ายฝากตัวอ่อนมิได้เป็นเทคโนโลยีเริ่มพัฒนากันในปัจจุบันแต่เป็นวิชาการที่ เริ่มต้นกันมาไม่น้อยกว่า 95 ปี มีรายงานการย้ายฝากตัวอ่อนเป็นครั้งแรกของโลกโดย Heape (1890) นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งทําการศึกษาวิจัย อยู่เมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้ดูดตัวอ่อนจากกระต่ายตัวให้ แล้วย้ายฝากตัวอ่อนให้กระต่ายตัวรับ (Donor) (Recipient) ในวันที่ 27 เมษายน 2433 ในที่สุดวันที่ 29 พฤษภาคม 2433 กระต่ายตัวรับได้คลอดลูกออก มา 1 ตัว มีสุขภาพสมบูรณ์ปกติ หลังจากนั้น Heape ได้พยายามศึกษาวิจัยต่อมาแต่การทดลอง ส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการตายของตัวรับอันมีสาเหตุมาจากการทําให้กระต่ายสลบโดยใช้คลอโรฟอร์มและกระต่ายไม่สมบูรณ์พันธุ์ อย่างไรก็ตามเขาก็ประสบความสำเร็จอีก ครั้งโดยได้ลูกกระต่ายออกมา 8 ตัว แต่มีเพียง 1 ตัวเท่านั้นที่สามารถมีชีวิตรอดมาได้ (Heape, 1897)
Publisher
Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
First Page
258
Last Page
269
Recommended Citation
พาลพ่าย, รังสรรค์
(1986)
"อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ของเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อน (Past, present and future of en=mbryo transfer technology),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 16:
Iss.
4, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol16/iss4/6