•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การสำรวจปรสิตในนกพิราบ ซึ่งจับได้จากส่วนสัตว์ดุสิต จำนวน 50 ตัว พบ ปรสิตภายนอก 4 ชนิด คือ Sucking louse 88%, biting louse 74%, mite 78% และ pigeon fly 8% และพบปรลิตในเลือด หรือ Haemoproteus columbae 96% สำหรับปรสิตภายในนั้นพบพยาธิตัวตืด (Raillietina sp.) 82% พยาธิตัวกลม (Ascaridia columbae) 10% พยาธิใบไม้ในทางเดินอาหาร (Echinostome) 6% และ Eimeria sp. 26% ในการทดลองใช้ยา Mebendazole เพื่อกำจัดพยาธิในทางเดินอาหารของนกพิราบโดยแบ่งนกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว กลุ่มแรกเป็น control กลุ่มอื่นแต่ละกลุ่ม ให้ยาครั้งเดียวในขนาด 20,30 และ 40 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และให้ในขนาด 20 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. วันละครั้งติดต่อกัน 2 และ 3 วันอีกด้วย พบว่าประสิทธิภาพของ ยานี้ต่อพยาธิตัวตืดเป็น 85.49%, 95.56%,100%, 98.19% และ 100% ตามลําาดับ สำหรับ ประสิทธิภาพของยานี้ต่อพยาธิตัวกลม พบว่าได้ผล 100% ในทุกขนาดของการทดลองนี้ ดังนั้น ขนาดของยาที่เหมาะสมคือ 40 มก. ต่อน้ำาหนักตัว 1 กก. โดยการให้ครั้งเดียว

DOI

10.56808/2985-1130.1322

First Page

194

Last Page

207

Share

COinS