Journal of Letters
Publication Date
2020-01-01
Abstract
This article analyses the relationship between fashion, new Italian lifestyle and social mobility that constitute the classic formula of the Italian screwball comedy, the so-called "White Telephone Films", mainly produced during the second decade of the Fascist period. It focuses on three Italian films directed by Mario Camerini which are Darò un milione (1935), Il Signor Max (1937) and I Grandi Magazzini (1939). Since the mid-1930s, the Government of Benito Mussolini used this genre of Italian cinema as a political tool to manipulate public opinions and to make them accept or even agree with fascist policies. Therefore, the director had to present only beautiful and positive images of the Italian way of life through petite bourgeoisie and working class characters in an idealised society, as it was expected that the simply luxurious life in films would convince and inspire the audience to believe in the values of Fascism and to give consensus to the Fascist Government. The costume designs played an important role in this because they not only represented the characteristics and identities of the characters, coming from different socioeconomic backgrounds, but also portrayed how Italian people lived their lives at that time. Moreover, the Italian fashion of the Thirties was integral to the Fascist ideal of the Myth of Italian New Man and Woman and the campaign for Italian Self-sufficiency which contributed to the development of Nationalism before and during the Second World War. (บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแฟชั่นเครื่องแต่งกายและวิถีชีวิตอิตาเลียนรูปแบบใหม่กับการปลอมแปลง สถานภาพทางสังคมของตัวละคร ซึ่งกลายเป็นสูตรสําเร็จของภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่ออิตาเลียนประเภทตลกโรแมนติก หรือ เรียกกันว่า "ภาพยนตร์โทรศัพท์สีขาว" ที่สร้างขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่สองของระบอบเผด็จการฟาสซิสต์อิตาลีโดยเลือก วิเคราะห์ภาพยนตร์อิตาเลียนจํานวน 3 เรื่อง ได้แก่ Darò un milione [ผมจะให้เงินหนึ่งล้าน] (1935) Il Signor Max [คุณ ชายแม็กซ์] (1937) และ I Grandi Magazzini [ห้างสรรพสินค้า] (1939)3 ของมาริโอ คาเมรินี ผู้กํากับชาวอิตาเลียน ภาพยนตร์ประเภทนี้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลฟาสซิสต์ของนายกรัฐมนตรีเบนิโต มสุ โสลินีใช้เผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ทางอ้อมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในเรื่องการกินดีอยู่ดี รวมทั้งปลุกจิตสํานึกให้ทุกคนตระหนักถึงความสําคัญของ คุณธรรมจริยธรรม และนํามาใช้ในการดํารงตน โดยนําเสนอภาพจําลองชีวิตคนอิตาเลียนในสังคมอุดมคติที่เต็มไปด้วยความสุข และความเจริญก้าวหน้าทันสมัยตามเมืองใหญ่ของอิตาลีผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นกลุ่มคนทํางานรับจ้างและชนชั้นกลางระดับล่าง รัฐบาลหวังว่าภาพฝันนี้จะสามารถโน้มน้าวให้ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความประทับใจและมีแรงบันดาลใจในการดําเนินชีวิตบนโลก แห่งความเป็นจริงได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับตัวละคร อันจะนําไปสู่ฉันทามติของมวลชนอิตาเลียนด้านความนิยมในตัว รฐบาลต่อไป แฟชั่นเครื่องแต่งกายของตัวละครจึงมีบทบาทสําคัญ เพราะทําหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ สะท้อนบุคลิกลักษณะและ สถานภาพของตัวละคร และเป็นตัวแปรหลักที่ตัวละครใช้ในการสลับร่างสร้างตัวตนใหม่ จนเป็นเหตุให้เกิดความสับสน อลหม่านตามมามากมายในภาพยนตร์ท้ังสามเรื่อง นอกจากนี้แฟชั่นในภาพยนตร์โทรศัพท์สีขาวยังเชื่อมโยงกับบริบททาง การเมือง โดยมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสร้าง "คนอิตาเลียนแบบใหม่" ตามแนวคิดฟาสซิสต์และถ่ายทอดรูป แบบการ ใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ไปสู่มวลชน ตลอดจนส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยมภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองด้าน อุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศอิตาลีในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.49.1.3
First Page
49
Last Page
72
Recommended Citation
Tachart, Pajaree
(2020)
"Fashion and Social Status: a Classic Formula of the White Telephone Films during the Fascist Italy(แฟชั่นกับสถานภาพทางสังคม: สูตรสําเร็จของภาพยนตร์โทรศัพท์สีขาว ในยุคฟาสซิสต์อิตาลี),"
Journal of Letters: Vol. 49:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.49.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol49/iss1/4