Journal of Letters
Publication Date
2019-07-01
Abstract
When observing speakers of Nakhon Si Thammarat Thai talking in their daily life, it is found that the negative form ma:j2can beused beyond negation. For example, they use ma:j2 to correct information, confirm what has been said, and show that they agree with other interlocutors. However, most previous studies of Southern Thai dialects have only viewed ma:j2 as a negative form syntactically and semantically, but not pragmatically. This article, therefore, aims to study the pragmatic functions of the negative form ma:j2 in casual conversations in Nakhon Si Thammarat Thai. Data were collected from 36 conversations between two or more female and male interlocutors of different ages, occupations, education levels and social status. Analysis shows that speakers use ma:j2 as a pragmatic marker to interact with other interlocutors on two levels. At the textual level, ma:j2 has two functions: correcting what has been said, and interrupting. At the interactional level, ma:j2 has six different functions: providing more information, clearing up another interlocutor's misunderstanding, showing agreement, confirming, making excuses, and expressing that the topic mentioned is not important.(จากการสังเกตการสนทนาของผู้พูดภาษาไทยนครศรีธรรมราช พบประเด็นที่น่าสนใจว่า ผู้พูดใช้รูปปฏิเสธ ma:j2 ทำหน้าที่อื่นที่มิใช่การปฏิเสธได้ เช่น แก้ไขถ้อยคำที่กล่าวไปแล้วยืนยัน และแสดงว่าเห็นด้วยกับผู้ร่วมสนทนา ซึ่งการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มักกล่าวถึงรูปปฏิเสธในแง่การปรากฏทางวากยสัมพันธ์ และความหมายทางอรรถศาสตร์ แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการศึกษาหน้าที่ของรูปปฏิเสธ ma:j2ในภาษาไทยถิ่นใต้ในทางวัจนปฏิบัติเช่นนี้งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติของรูปปฏิเสธ ma:j2 ในบทสนทนาแบบกันเองในภาษาไทยนครศรีธรรมราช โดยรวบรวมข้อมูลรูปปฏิเสธ ma:j2จากบทสนทนาจำนวน36 บทสนทนาของผู้ร่วมสนทนาทั้งเพศหญิงและชายจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีอายุ อาชีพ การศึกษา และสถานภาพทางสังคมที่หลากหลาย ผลการศึกษาพบว่าผู้พูดภาษาไทยนครศรีธรรมราชใช้ ma:j2 ทำหน้าที่เป็นดัชนีวัจนปฏิบัติ 2 ประเภท คือ (1) หน้าที่ด้านตัวบท ได้แก่ การแก้ไขถ้อยคำที่กล่าวไปแล้ว และการตัดบทการสนทนา (2) หน้าที่ด้านบุคคลสัมพันธ์ ได้แก่ การให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสริมความ การแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้ร่วมสนทนาการแสดงว่าเห็นด้วยกับผู้ร่วมสนทนา การยืนยัน การแก้ตัว และการแสดงว่าสิ่งที่กำลังกล่าวถึงไม่มีความสำคัญ)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.48.2.1
First Page
1
Last Page
32
Recommended Citation
Bumrungkarn, Rujira
(2019)
"The Negative Form ma:j2 as a Pragmatic Marker inCasual Conversations in Nakhon Si Thammarat Thai(รูปปฏิเสธ ma:j2ในฐานะดัชนีวัจนปฏิบัติในบทสนทนาแบบกันเองในภาษาไทยนครศรีธรรมราช),"
Journal of Letters: Vol. 48:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.48.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol48/iss2/1