•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2019-01-01

Abstract

To determine whether any action or utterance is polite or impolite is at the discretion of the listener; a speaker may employ utterances that seem disrespectful to an outside audience, but if their immediate listeners did not feel those utterances were impolite, the utterances cannot be regarded as such. However, personal politeness perspectives vary according to the participants' age range. For this reason, an awareness of the participants' view of politeness is important. If people from different generations realize each other's politeness perspectives, it makes their communication smooth. This article aims to comparatively study the politeness judgment levels of utterances taken from dialogue in TV series in situations where teenagers responded to blame from their parents. The data were collected from two groups of participants: 30 teenagers and 30 adults. The results show that there are differences between the politeness judgements of teenagers and adults, which are reflected in the reasoning behind the judgments. It was found that adults focused on negative behavioral reasons such as emotional expression, controversy, and aggressive expression, while teenagers emphasized giving explanations.(การตัดสินว่าการกระทําหรือถ้อยคําใดสุภาพหรือไม่สุภาพนั้นย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ฟังเป็นหลัก เนื่องจากหากผู้พูดเลือกใช้ถ้อยคําที่ดูเหมือนไม่สุภาพกับผู้ฟัง แต่ผู้ฟังไม่ได้เห็นว่าถ้อยคําเหล่านั้นมีลักษณะที่ไม่สุภาพ ถ้อยคําดังกล่าวก็จะถือได้ว่าไม่ใช่ คํา ที่ไม่สุภาพ อย่างไรก็ดี มุมมองความสุภาพที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นย่อมแปรผันไปตามช่วงวัยของผู้ฟังด้วยเช่นกันด้วยเหตุนี้ การตระหนักรู้ถึงมุมมองความสุภาพของผู้ร่วมสนทนาต่างวัยจึงเป็นสิ่งสําคัญเพราะจะทําให้ผู้ร่วมสนทนาที่มีช่วงวัยต่างกันเข้าใจมุมมองความสุภาพของแต่ละฝ่าย ส่งผลให้การสื่อสารเป็นไปด้วยความราบรื่น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินระดับความสุภาพของถ้อยคําซึ่งนํามาจากบทละครโทรทัศน์ที่ วัยรุ่นใช้ ในการตอบกลับการถูกตําหนิจากผู้ปกครองในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 ช่วงวัย ได้แก่ วัยรุ่น 30 คน และวัยผู้ใหญ่ 30 คน ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินความสุภาพของถ้อยคําระหว่างกลุ่มวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่แตกต่างกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจากการมีมุมมองต่อความสุภาพของถ้อยคําแตกต่างกัน ทั้งนี้สามารถสะท้อนให้เห็นได้จากการให้เหตุผลสนับสนุนการตัดสินความสุภาพของถ้อยคํา ซึ่งพบว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ให้ความสําคัญกับเหตุผลด้านพฤติกรรมเชิงลบ เช่น การแสดงอารมณ์โมโหการโต้เถียง การแสดงความก้าวร้าว เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นมองว่าการอธิบายหรือชี้แจงเหตุผลเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาตัดสินความสุภาพของถ้อยคํา)

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.48.1.3

First Page

77

Last Page

96

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.