Journal of Letters
Publication Date
2018-07-01
Abstract
The objective of this research was to develop guidelines for information organization and services that matched the needs of small and medium enterprises. The researcher used mixed research methods, i.e. surveying information needs and the services of small and medium enterprises in Chiang Mai ( a group of 398 samples), and interviewing seven enterprise consultants on 1) usage and demand of information resources 2) information seeking 3) usage and demand of information services 4) problems and obstacles in using information. Questionnaires and semi-structured in-depth interviews were used to collect information. The research showed that 1)most of the small and medium enterprises used and required books. The most used area of information was business services and marketing. In terms of information current, they required the most recent educational, entertainment and statistical information. The objectives of their usage were to catch on news and improve and develop businesses. 2) The majority ofentrepreneurs accessed information through the internet, based on the data from financial institutions and commercial banks. 3) Information services required the most are current content awareness service, selective dissemination of information service and reference services, respectively.They also required one - stop services, which assembled and associatedinformation that was essential for business and services which was different from other providers, such as data analysis services focusing on convenient online searching tool, and keeping track of searching history of users for improvement and development 4) The problems and obstacles in using information were information's up-to-dateness, type, quality, accessibility, and information in foreign languages. A guideline for information organization for developing enterprising library is to classify the enterprises into 21 categories, and divide information of each category into three sub categories, following British Library's model,i.e. (1) Plan to start your business (2) Ideas protection (3) Plan to grow your business. Then, create an index, subject heading and thesaurus in order to help the user to access information faster and easier. A guideline for information services is focusing on online one stop services, by adopting necessary technology such as AI, data mining, web board and online social media.(งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดระเบียบสารสนเทศและบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสํารวจสภาพการใช้และความต้องการสารสนเทศและบริการสารสนเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ (กลุ่มตัวอย่าง 398คน) และสัมภาษณผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาวิสาหกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้และต้องการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือมากที่สุด สารสนเทศที่ใช้และต้องการมากที่สุดคือ สารสนเทศด้านการตลาด สารสนเทศที่ต้องการต้องมีความทันสมัย ลักษณะสารสนเทศที่ต้องการต้องให้ความรู้และความเพลิดเพลิน มีความเฉพาะเจาะลึก และเป็นสารสนเทศเชิงสถิติ วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศคือ เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารและเพื่อปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจ 2) ผู้ประกอบการเข้าถึงสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยค้นจากสถาบันการเงิน/ธนาคารพาณิชย์ 3) บริการสารสนเทศที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด คือบริการแจ้งข่าวสาร รองลงมาคือบริการแนะนําแหล่งสารสนเทศ และบริการช่วยค้นคว้าและตอบคําถาม นอกจากนี้ยังต้องการให้มีบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ได้แก่การรวบรวม และเชื่อมโยง แนะนําให้ผู้ใช้เห็นภาพรวมของสารสนเทศทั้งหมดที่จําเป็นสําหรับการประกอบธุรกิจ และบริการที่แตกต่างจากที่อื่น เช่น การบริการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเน้นบริการออนไลน์ที่มีเครื่องมือในการสืบค้นสารสนเทศที่ใช้งานง่าย มีการเก็บคําค้นที่ผู้ใช้สืบค้นเพื่อนํามาพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการต่อไป 4) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สารสนเทศ ได้แก่ ความทันสมัยของสารสนเทศ ลักษณะของสารสนเทศ คุณภาพของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ และสารสนเทศภาษาต่างประเทศ แนวทางการจัดระเบียบสารสนเทศ คือ จําแนกสารสนเทศตามประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 21 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะแบ่งสารสนเทศตามขั้นตอนการประกอบธุรกิจโดยใช้แนวคิดของห้องสมุดบริติชที่จัดกลุ่มสารสนเทศเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การเริ่มต้นธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ 2) การปกป้องความคิด ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) การพัฒนาธุรกิจ การเติบโตของธุรกิจ แนวโน้มธุรกิจในอนาคต จากนั้นจัดทําดรรชนี หัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและสืบค้นสารสนเทศได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ส่วนแนวทางการบริการสารสนเทศ เน้นการบริการออนไลน์ในลักษณะจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ นําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การทําเหมืองข้อมูล เว็บบอร์ด และสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ที่ประสบความสําเร็จในวงการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.47.2.8
First Page
392
Last Page
439
Recommended Citation
Khampliw, Pantipa and Saladyanant, Tasana
(2018)
"Guidelines for Developing the Enterprising Library, Faculty of Business Administration, Chiang Mai University(แนวทางการพัฒนาห้องสมุดวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),"
Journal of Letters: Vol. 47:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.47.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol47/iss2/8