•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2018-07-01

Abstract

This research focuses on studying "heart" metaphors from a sensory perspective, characterizing and analyzing relevant metaphorical expressions of Chinese "HEART" (/ɕin55/) in comparison with the correspondent Thai "HEART" (/tɕaj0/) based on Conceptual Metaphor Theory (CMT) of Lakoff and Johnson (1980; 1999; 2003) as well as the theory of knowledge "embodiment theory" (Johnson 1987) which was also taken into account. This study also explores the concept of "heart" in the two languages and their metaphorical mapping process, as well as the aspect of meaning extension conveyed by the word "heart" ranges from a body-part term to the more abstract meanings, including emotion, state of mind and personality. Results were that "heart" metaphors in Chinese and Thai derived from metaphorical expressions related to the five basic human senses, namely, the sense of vision, touch, taste, hearing and smell. Metaphors could be classified as 5 main categories: (1) Visual images (2) Haptic images (3) Gustatory images (4) Auditory images and (5) Olfactory images. The findings also reflected that conceptual systems in China and Thailand shared universal features while differing in details and that users of both languages were influenced by different socio-historical factors and cultural models pointing to individual cardiac conceptualizations.(งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อศึกษาอุปลักษณ์ "ใจ" ในมุมมองทางประสาทสัมผัสโดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบความหมายเชิงอุปลักษณ์ /ɕin55/(ใจ) ทั้งภาษาจีนและภาษาไทยเมื่อปรากฏร่วมกับคําแสดงความหมายเกี่ยวกับประสาทสัมผัสตามแนวคิดทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Metaphor Theory) ของเลคอฟและจอห์นสัน (Lakoff and Johnson 1980; 1999; 2003) รวมถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างรูป (embodiment) ของจอห์นสัน (Johnson 1987) ซึ่งมุ่งอธิบายถึงลักษณะการใช้ภาษากระบวนการถ่ายโยงทางความหมายของอุปลักษณ์ "ใจ" ในมุมมองการรับรู้ด้วยประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัสรวมถึงเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างในการสร้างมโนทัศน์ที่มีต่อเรื่อง "ใจ" ระหว่างผู้ใช้ภาษาจีนและผู้ใช้ภาษาไทยผลการศึกษาพบว่าเมื่อ /ɕin55/(ใจ) ในภาษาจีนและ "ใจ" ในภาษาไทยใช้เป็นอุปลักษณ์ล้วนมีความหมายเชิงอุปลักษณ์ที่อ้างถึงอารมณ์ความรู้สึกสภาพจิตใจและลักษณะนิสัยส่วนการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสซึ่งช่วยแสดงความหมายของ "ใจ" จากเดิมให้ขยายออกไปถึงความหมายเชิงนามธรรมนั้นสามารถจําแนกเป็น 5 ประเภทหลักได้แก่ (1) ประสาทสัมผัสประเภทการมองเห็น (2) ประสาทสัมผัสประเภทการสัมผัส (3) ประสาทสัมผัสประเภทการรับรส (4) ประสาทสัมผัสประเภทการได้ยิน (5) ประสาทสัมผัสประเภทการได้กลิ่นซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิดของผู้ใช้ภาษาทั้งสองที่มีต่อเรื่อง"ใจ" มีลักษณะความเป็นสากลขณะเดียวกันกระบวนการสร้างมโนทัศน์ของคําว่า /ɕin55/(ใจ) ในภาษาจีนและคําว่ า "ใจ" ในภาษาไทยมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่หลายประการเช่นกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีของผู้ใช้ภาษาในแต่ละสังคมที่ต่างกัน)

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.47.2.4

First Page

174

Last Page

225

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.