Journal of Letters
Publication Date
2018-01-01
Abstract
According to the 2016annual report ofthe Thailand Post Co., Ltd., 80% of the company's income were derived from e-commerce. The income from this business channel has been increasing steadily,affectingan increasing in workload in many post offices. Kanchanaburi Post Office has been facedwith the same problem, which led to ineffectiveperformance such as waitingin along queue and an insufficient numberof post offices. Theaim of this research is to evaluate a potential of service of post offices in Kanchanaburi province by using a Geographic Information Systems (GIS). This research applied 4 related factors:thenumber of deposit services, income from deposit services,coefficient of time for customer's service per one counter, andpopulation density. Then, these factors have beenanalyzed by using the Overlay technique. Next, the potential areas were classified into 5 categories following the Equal Interval technique. The results found that the highest potential area was34.22 square kilometers, covering 3 post offices:Kanchanaburi, Tha Ruea Phra Thaen and Tha Muang.In terms of the number of deposit servicesand income from deposit servicesfrom the study area between 2012 and 2016, it showed that the number of deposit serviceshas been risingconsistently. An off-peak period of each year was between Februaryand April. Incontrast, the peak period was from October to January. Thus, theresearcher suggeststhat mobile post office servicescouldbeimplementedinto the 3 highest potential areas in order to increase effectivenessof post office services. The mobile post office service has benefitsin terms of more accessibility, more mobility, and less cost of operation.(จากข้อมูลสถิติรายงานประจำปี 2559 ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจ E-Commerce เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้และสร้างปริมาณงานให้กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มากถึงร้อยละ 80และมีแนวโน้มว่าการเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ปริมาณงานที่ฝากส่งผ่านทางไปรษณีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปรษณีย์จังหวัดกาญจนบุรีเป็นอีกพื้นที่ที่มีปริมาณงานที่สูงอย่างต่อเนื่อง และพบรายงานปัญหาการใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่ เช่น การรอคิวรับบริการค่อนข้างนาน ที่ทำการไปรษณีย์มีไม่เพียงพอ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพความสามารถในการให้บริการรับฝากของที่ทำการไปรษณีย์ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาประยุกต์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการในจังหวัดกาญจนบุรี โดยกำหนดปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ศักยภาพการให้บริการ 4ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณชิ้นงานรับฝาก รายได้จากงานรับฝาก ค่าสัมประสิทธิ์เวลารับลูกค้าต่อหนึ่งเคาน์เตอร์บริการและ ความหนาแน่นประชากร จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถในการให้บริการรับฝาก โดยการซ้อนทับข้อมูลทั้ง 4ปัจจัยเข้าด้วยกันแล้วทำการแบ่งช่วงค่าแบบ Equal Intervalเป็น5ช่วง ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ให้บริการไปรษณีย์ที่มีศักยภาพมากที่สุด คิดเป็น 34.22ตร.กม. อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของที่ทำการไปรษณีย์ 3แห่ง ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์กาญจนบุรี ที่ทำการไปรษณีย์ท่าเรือพระแท่น และที่ทำการไปรษณีย์ท่าม่วง ผลวิเคราะห์ศักยภาพการให้บริการที่ทำการไปรษณีย์ด้านจำนวนชิ้นงานรับฝากและรายได้รับฝาก ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พ.ศ. 2555-2559พบว่ามีแนวโน้มอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ วิเคราะห์เป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่ามีอัตราลดลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยเฉพาะเดือนเมษายนที่อัตราลดลงเป็นอย่างมาก แต่หลังจากเดือนเมษายนเป็นต้นมาจะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมที่อัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยนี้เสนอแนะแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการไปรษณีย์ด้วยการใช้ที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ ออกมาวิ่งจอดให้บริการในจุดพื้นที่ที่มีศักยภาพให้บริการไปรษณีย์มากที่สุดในเขตรับผิดชอบของที่ทำการไปรษณีย์ทั้ง 3แห่งที่กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องด้วยที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทันท่วงที และประหยัดต้นทุนในการจัดสร้างอาคารที่ทำการไปรษณีย์)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.47.1.8
First Page
345
Last Page
376
Recommended Citation
Intarasuwan, Attapon; Meksangsouy, Pakorn; and Monprapussorn, Sathaporn
(2018)
"AN APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM TO ANALYSE POTENTIAL OF POSTAL SERVICE: A CASE STUDY OF KANCHANABURI PROVINCE(การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์: กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี),"
Journal of Letters: Vol. 47:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.47.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol47/iss1/8