•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2018-01-01

Abstract

This research article is aimed at giving an analysis of autistic identity negotiations in the novel The Speed of Dark(2003) by contemporary American author Elizabeth Moon. On one hand, this novel presents mainstream significations of autism that are influenced by the medical paradigm of disability, which views autism as a disorder that needs to be treated. On the other hand, it offers an alternative way of giving meanings to autism according to the cultural paradigm of disability, which regards autism as a form of cultural identity in a multicultural society. This article presents an analysis of the thoughts of the protagonist Lou Arrendale, a young autistic man, and his interactions with other characters surrounding him, which reveal the processes of negotiating between these two competing lines of signification. This article argues that although the novel shows the influence of the medical paradigm of disability on the protagonist, who decides to undergo treatment to cure himself of autismtoward the end of the story, throughout, it emphatically critiques the mainstream concept of the normative self and other medicaldiscourses, which are fraught with biases against autism, and affirms the existence of autism as a cultural identity in a culturally diverse society.(บทความวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ประเด็นการต่อรองอัตลักษณ์ออทิสติกในนวนิยายเรื่อง เดอะ สปีด ออฟ ดาร์ก(The Speed of Dark) ของ อลิซาเบท มูน (Elizabeth Moon) นักเขียนอเมริกันร่วมสมัย ในด้านหนึ่ง นวนิยายเรื่องนี้นำเสนอการให้ความหมายออทิสติกในแนวกระแสหลักที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนทัศน์ความพิการเชิงการแพทย์ ซึ่งมองสภาวะนี้เป็นความผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษาให้หาย ในอีกด้านหนึ่ง นวนิยายนำเสนอทางเลือกในการให้ความหมายออทิสติกตามกระบวนทัศน์ความพิการเชิงวัฒนธรรม ซึ่งมองว่าออทิสติกเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งในสังคมพหุวัฒนธรรม บทความวิจัยนำเสนอการวิเคราะห์ความคิดของตัวละครเอก ลู อาร์เรนเดลล์ (Lou Arrendale) ชายหนุ่มที่มีสภาวะออทิสติกและปฏิสัมพันธ์ของเขากับตัวละครแวดล้อมต่างๆ ที่เผยให้เห็นการต่อสู้ทางความหมายระหว่างแนวคิดทั้งสองดังกล่าว บทความวิจัยนำเสนอความคิดที่ว่า แม้ว่านวนิยายเรื่องนี้จะยังคงแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกระบวนทัศน์ความพิการเชิงการแพทย์ต่อตัวละครเอก ที่ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อให้หายจากสภาวะนี้ในตอนท้ายของเรื่อง แต่ตลอดทั้งเรื่อง นวนิยายเน้นการวิพากษ์แนวคิดกระแสหลักเรื่องบรรทัดฐานตัวตนปกติและวาทกรรมทางการแพทย์อื่นๆ ที่แสดงถึงอคติต่อสภาวะออทิสติก อีกทั้งยังยืนยันการดำรงอยู่ของออทิสติกในฐานะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม)

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.47.1.6

First Page

227

Last Page

284

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.