•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2018-01-01

Abstract

Speech rhythm is one of the significant prosodic features in language. It refers to rhythmic patterns of utterances which occur at regular intervals of time. The objectives of the present study are twofold. First, it examinesthe structure of the speech rhythm in Luang Phrabang Lao,applying both the Isochrony (ISO) method and the Rhythmic Metrics (RM)method. Second, both the ISO and the RM methods arecompared to investigate their reliability and validity. The hypotheses of this study arethat(1) Luang Phrabang Lao is a stress-timed language and (2) the application of the ISO and the RM methods would lead to similar conclusions about the type of speech rhythm in Luang Phrabang Lao. The present study shows that Luang Phrabang Lao exhibits syllable-timed patterns with respect to the ISO method. Nevertheless, the RM method suggests that this Laotian variety belongs to a stress-timed language group. Because of these contrary results, it is hard to address the question as to whether Luang Phrabang Lao isstress-timed or syllable-timed in a speech rhythm category. Instead of placing Luang Phrabang Lao into a precise rhythm type, therefore, we examined the speech rhythms of other languages previously proposed and compared them with Luang Phrabang Lao in ourcurrent study. We found that the speech rhythm in Luang Phrabang Lao exhibits similar rhythmic patterns as Thai as indicated in previous literature (e.g. Grabe andLow 2002;ญาณินท์สวนะคุณานนท์ [Yanin Sawanakunanon] 2555; อภิญญา ห่านตระกูล [Apinya Hantrakul] 2558). Thefinding affirms that Thai and Lao languages are members of the same language family, Tai. Additionally, this study shows that the RM method is more valid and reliable for a speech rhythm analysis than the ISO method due to its less subjective methodology.(จังหวะเสียง คือ รูปแบบในการเปล่งถ้อยคำในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของหน่วยเสียงพิเศษในภาษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อวิเคราะห์ว่าภาษาลาวหลวงพระบางเป็นจังหวะประเภทใช้พยางค์เป็นเครื่องกำหนด หรือใช้การเน้นเป็นเครื่องกำหนด ด้วยวิธีการวิเคราะห์ 2แบบ คือ วิธี ISO และ วิธี RM และ (2) เพื่อเปรียบเทียบวิธี ISO กับวิธี RM ว่ามีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์จังหวะเสียงแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ในเบื้องต้นคณะผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า(1) ภาษาลาวหลวงพระบางมีจังหวะเสียงประเภทใช้การเน้นเป็นเครื่องกำหนดจังหวะ และ(2) ผลการวิเคราะห์จังหวะเสียงในภาษาลาวหลวงพระบางโดยใช้วิธี ISO กับวิธี RM ไม่แตกต่างกันผลการศึกษาพบว่า ในวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง จากการวิเคราะห์หารูปแบบจังหวะเสียงในภาษาลาวหลวงพระบางทั้งโดยวิธี ISO และวิธี RM นั้น ในวิธี ISO ภาษาลาวหลวงพระบางมีแนวโน้มของจังหวะเสียงแบบใช้พยางค์เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ ส่วนในวิธี RM ภาษาลาวหลวงพระบางมีแนวโน้มของจังหวะเสียงแบบใช้การเน้นเป็นเครื่องกำหนดจังหวะ จากผลที่ออกมาแตกต่างกันนั้น คณะผู้วิจัยจึงเห็นว่า ยังไม่ควรตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าภาษาลาวหลวงพระบางนี้มีรูปแบบจังหวะเสียงเป็นแบบใดเพราะอาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ภาษานี้มีลักษณะของจังหวะเสียงที่ไม่ชัดเจน เช่น ความแตกต่างของเกณฑ์การวัดระหว่างวิธี ISO และ RM หรือการจำแนกประเภทของจังหวะเสียงที่อาจไม่ได้มีเพียงแบบใช้การเน้นและแบบใช้พยางค์ เป็นต้น แต่ควรศึกษาว่าภาษาลาวหลวงพระบางนี้มีลักษณะคล้ายกับภาษาใดมากกว่า ผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบจังหวะเสียงในภาษาลาวหลวงพระบางมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยดังเห็นได้จากการเปรียบเทียบค่าของตัวแปรในวิธี RM ระหว่างภาษาลาวหลวงพระบางกับงานวิจัยของเกรบและโลว์(Grabe and Low 2002)ญาณินท์ สวนะคุณานนท์ (2555)และอภิญญา ห่านตระกูล (2558) ผลที่ปรากฏนี้สะท้อนถึงการที่ภาษาไทยกับภาษาลาวเป็นภาษาตระกูลไทร่วมกัน ต่อมา ในวัตถุประสงค์ข้อที่สอง จากการเปรียบเทียบวิธี ISO กับวิธี RM ว่ามีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์จังหวะเสียงแตกต่างกันหรือไม่นั้น ผลที่พบคือแตกต่างกัน และวิธี RM มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์จังหวะเสียงได้ดีกว่าเนื่องจากในขั้นตอนการวัดและวิเคราะห์เสียงจะมีความละเอียดถี่ถ้วนและชัดเจนมากกว่า)

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.47.1.2

First Page

39

Last Page

91

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.