Journal of Letters
Publication Date
2017-07-01
Abstract
/plàaw/is a familiar negative form when it is part of question particles like /rɨ̌plàaw/and /châj rɨ̌plàaw/. Thai native speakers can also use /plàaw/at the beginning of a sentence or use it solely in response to conversationsnaturally and may not even notice its syntactic, semantic, and pragmatic properties. This paper aims to study the three stated properties ofthe negative form, /plàaw/, in the second or responding turn in conversations. However, /plàaw/, which is part of question particles; /plàaw/, which is part of fixed expressions such as/rɨ̌kɔ̂plàaw/; and /plàaw/, which means 'empty or nothing else but itself',such as /klɔ̀ŋ plàaw/and /khâaw plàaw/, are not included in this study. The data werecollected fromtheThai National Corpus under the Patronage of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindorn, novels, Internet media, and conversations in the researcher's daily life. It wasfound that /plàaw/, whichis used in response to other speakers'utterancesin second turns, can occur solely and precede verb phrases,as well as final particles. Despite its different syntactic properties, every occurrence of /plàaw/ has the same semantic meaning:'empty or nothing else but itself'. Its negation scope is beyond constituents and clauses,as speakers use it to negate the utterance of other speakersand pragmatic presupposition. Pragmatically, it is used for negating, making excuses, cutting others short while talking, and concealing the truth.(เปล่า เป็นรูปปฏิเสธที่ดูคุ้นเคยเมื่อปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของคำลงท้ายคำถาม เช่น หรือเปล่า และ ใช่หรือเปล่า กระนั้นก็ดีในฐานะที่เป็นเจ้าของภาษา ผู้พูดภาษาไทยสามารถใช้รูปปฏิเสธ เปล่า ในตำแหน่งต้นประโยค หรือใช้ เปล่า ตามลำพังในประโยครับเพื่อโต้ตอบการสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยอาจไม่ทันสังเกตว่า เปล่า มีคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติเช่นไร งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาคุณสมบัติทั้งสามประการของรูปปฏิเสธ เปล่า ที่ปรากฏในผลัดที่สองหรือผลัดที่เป็นการโต้ตอบการสนทนา โดยจะไม่นำ เปล่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของคำลงท้ายคำถาม เปล่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของวลีตายตัว เช่น หรือก็เปล่าและ เปล่า ที่มีความหมายว่า 'ว่าง ไม่มีอะไรนอกจากตัวมันเอง' เช่น กล่องเปล่า และ ข้าวเปล่ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นวนิยาย สื่อทางอินเทอร์เน็ต และบทสนทนาในชีวิตประจำวันของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า เปล่า ที่ผู้พูดใช้ในผลัดที่เป็นการโต้ตอบการสนทนาเพื่อแสดงปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมสนทนานั้นสามารถปรากฏโดยไม่มีคำแวดล้อม ปรากฏหน้ากริยาวลี และปรากฏหน้าคำลงท้ายได้ โดย เปล่า ที่มีคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ที่แตกต่างกันนี้มีคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ที่เหมือนกันคือมีความหมายว่า 'ว่าง ไม่มีอะไรนอกจากตัวมันเอง' ทั้งนี้ เปล่า ไม่ได้มีขอบเขตการปฏิเสธในระดับหน่วยประกอบของประโยคและประโยค แต่ผู้พูดใช้ เปล่า ในการปฏิเสธถ้อยคำของผู้ร่วมสนทนา และมูลบทในทางวัจนปฏิบัติ ส่วนในทางวัจนปฏิบัตินั้นผู้พูดใช้ เปล่า เพื่อปฏิเสธ แก้ตัว ตัดบท และปิดบังความจริง)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.46.2.7
First Page
295
Last Page
343
Recommended Citation
Bumrungkarn, Rujira and Thepkanjana, Kingkarn
(2017)
"Syntactic, Semantic and Pragmatic Properties of the Negative Form /plàaw/ in Thai(คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และวัจนปฏิบัติของรูปปฏิเสธ เปล่าในภาษาไทย),"
Journal of Letters: Vol. 46:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.46.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol46/iss2/7